วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Center of Srivijaya
















  The Center  of  Srivijaya                           

                                                           Prajit  P. Prasad - Researcher


            The story of “Srivijaya Empire” and the location of it have become a topic of highly

controversial. Historians and archaeologists tried to pinpoint hypothesis but failed to do so

according  to the meager evidence. However,Thai historians have reluctantly suggested that

the capital of Srivijaya was on the peninsula of Thailand at the vicinity of Chaiya in Surat

Thani. Although some other historians have stated with the evidence based on the power

centralized  in Sumatra  and suggested  that Palembang was the center of Srivijaya. Have we 

accepted in such cases?.





I-ching, and excerpt of a scroll from I-ching’s Buddhist Monastic Tradition of  Southern Asia

Tenri, Nara, Japan.




            To update the conclusions to meet with the present evidence  of  Srivijaya,

I myself, as the writer, accept the influence of Srivijaya  as they extended their domains to 

control  over the Malay Peninsula  as well as  the islands of  Java and  Sumatra. The story
  
of  Srivijaya  has always been interesting. It is worthwhile to follow the works of  the former

 historians as the professional in  this field  since they  supplied us  with the considering

evidence. But it is highly controversial and,of course, is necessary to add, pick or choose

what  to  accept and  what to discard. However, we have to  carefully  study  with  the

ancient documentary evidence, take them into conclusions and analyze the information

systematically with the adequate reference. Since the study on Srivijaya  has  not  yet  been

concluded, therefore, we have to investigate with  these available information  before

recommending and proposing the conclusions.

                                                                                                                                                 
              Most of the foreign historical records described Srivijaya in  normal  accounts except      

only  the written records of  I-ching, the  Chinese monk  who started his adventurous journey

to  Srivijaya  and India during  671-695 A.D.  The  written accounts described about  the time 

factor, distance, the number of dates related to the various local places, and climate at that

time.  These are valuable historical sources that have almost no written records of their

histories.

            Therefore, I-ching’s written  accounts  might be the solution that could  solve the

mystery of Srivijaya  throughout the early period, as the key clearly enough to pinpoint

the  hypothesis on Srivijaya  regarding the  names and places in Srivijaya history.


            Before  we  bring the reader to determine the various place - names in Srivijaya

history which, of course, very doubtful, we know for certain that the peninsula of Thailand

has a significant sources in history and archaeology. According to these information  we

focus on the establishment of the kingdom and the location of  the capital  that have been the

major subject of  disputes during the  last four or five decades.  

            In early time, scholars and historians tried to determine  the location of  the center of

Srivijaya Empire  compared with  various significant evidence such as fine arts and

monuments  of  Brahmanism and Buddhism. The art that developed in southern Thailand

during this period has thus termed “Srivijayan Art” which was related  to  the art  of the

Sailendra  Dynasty”.  Presumably, the sculptures found  in the peninsular  during   this

period  exhibit  a  similar style of the Pala art of Vajrayana  Buddhism from  Nalanda  in  the

northeastern India  that spread throughout the southeast Asia, China, and Java. Moreover,

the  archives and  interpretations referencing by both Thai and foreign experts tracing back

to the root, are the earliest proof of  its emergence and thriving of the kingdom of Srivijaya

since the 7th century where it was flourishing during 8th-9th centuries  as the Trading Empire

lying on the route between China in  the east, and India, Persia and Europe in the west.

            When  we say the  word “Srivijaya”, most of  the scholars at present, accept that       

professor George Coedes  produced this word in 1918 A.D. and located the centre of

Srivijaya  at  Palembang in the south of Sumatra. After that, the foreign scholars followed

Coedes’theory that  Srivijaya was at Palembang. However,the excavations at Palembang have

not yielded any significant evidence. According to the Sumatran inscriptions  including

with the Kedukan Buket inscription from Palembang, dated 682 A.D., there were five name

of  places and one name was the river.  Those inscriptions had been found at  Muara Takus,

Jambi, Lampung, and Palembang. One of  the inscription at Talang Tuwo ( Palembang) in

684 A.D. mentioned the name “Dapunta  Hiyam  Sri Jayanasa” who built a park called Sri

Ksetha for  the people. Ceramic and wares found  in Palembang might have been the 9th -10th

centuries which obviously was the  latest of  Srivijaya period.

            If  we  do not  accept that Palembang was  the capital of Srivijaya, some scholars

suggested that Chaiya was certainty the center of  Srivijaya since the  7th – 9th centuries or

before  that period ( such as Chand Chirayu Rajani M.C.,1999 A.D.,Sippanan Nuanla-ong,

2014 A.D.,Thammatas Banij,1991 A.D., and Nongkran Srichai, 2001 A.D.)

            Srivijaya is one of the various names which appeared throughout the history in the

documentary evidence and the inscriptions such as Bodhi, Sri -Bodhi, San-fo- tsi, Javaka,

Zabag, Fo-shih, and Shih-li-fo-shih.




I-ching’s sea route from Kwang-fu (Canton,China) to India (Tamralipti).




Details from a Pursian painting  showing  a  ship.  I-ching sailed  to the east 
coast of Malaya with cross - ocean ship ( Poss- eu  or  Persian ship).   
On his way, he reached “Fo-shih” (Srivijaya) in 671 A.D. 


To  find out the story of Srivijaya, from earliest time when folks learnt how to sail

crosswind. People set sail from  south  China when the northeastern Monsoon blew and 

sailed before the wind to the east coast of Malaya with cross - ocean ship ( such as  poss- eu

or  Persian ship) plying between China and Far East. I-ching, the Chinese monk who started

his  journey from  China to India,  on his way, he reached “Fo-shih”(Srivijaya)   in

671 A.D.  I -ching described Srivijaya as a confederation of  states with 10 colony states

He spent six months learning Sabdavidya  (Sanskrit grammar) before he left for India.      
             
From  Fo-shih, he sailed down the east coast for around  fifteen days to the  country of 

Mo-lo-yu (Jambi) where he stayed for two months. From Mo-lo-yu, he  went in the other

direction up  the  west coast and through  the Malacca strait for another fifteen days to

Chieh-cha (Kedah). In  winter he embarked on the king’s ship and sailed to India and studied

at  Nalanda  for thirteen years (673-685 A.D.)

            According  to I-ching, the kingdom of Ho-ling was due east of  Fo-shih at  a  distance

that  could be covered in a sea journey of  four days. Ho-ling, or Po-ling  as  I-ching stated

some people pronounced the name; was from  the combination of the  word “Bodhi” and

Galinga”. Bodhi is a name of a tree and Galinga, at that time  was  the name  of  Indian

tribes “Galingaras” who  had moved from India to Malay Peninsula to establish  their

domicile at Ho-ling and Fo-shih. R.C. Majumdar, an archaeologist and  historian  suggested

that Galinga  had been moving in as refugees from  the war risks in India in the 6th century.

The Chalukya Dynasty attacked the key port cities of  Ganga  and  Sairodbhava Dynasty

where Galinga was one of the target for foreign  power  that would last over a hundred year.

Probably,the word “Maharaja” is not  a  personal name. It appeared only in Misore and 

Galinga state under Ganga Dynasty. It might have been intimidated by this  word as a generic

name or the title of the Sailendra king ruling in India in  the 6th century.

            However, Srivijayan capital  in the Malay Peninsula became  an important  center

of the Vajrayana Buddhism  from  Nalanda in the northeastern India and spread over to

China and Java during 7th- 9th  century AD. This influence had extended to the  kingdom of

Srivijaya.  It was the evidence that in Java, the Sailendra king of Srivijaya (king Vishnu)

had ordered  the construction of  Borobudur,one of the largest and most magnificent of 

Buddhist monumental building in the world.


An inscription discovered at Wat Wiang, Chaiya, dated 775 A.D., showed that        

 the kingdom was called “Srivijaya”.   However, the  rulers of Chaiya were related to the

Sailendra Dynasty  in  India, so that, it could have been the origin of  the Sailendra 

Dynasty in  the peninsula as  the name “Galinga” had obviously been related to the word            

“Ho-ling”.


            In 685A.D., I-ching  returned  the same way from India to China. While in Mo-lo-yu

he  mentioned that ”After a month, we come to the country of Mo-lo-yu which has now

become  Fo-shih” I-ching stayed in Fo-shih during 687-695A.D. for eight years to translate

original  Sanskrit Buddhist scriptures into Chinese. I-ching praised the high level of Buddhist 

scholarship in Srivijaya. According to I-ching’s notes, he mentioned that:-

“In  the fortified  city of  Fo-shih, there are more than a thousand monks in the city

whose minds are bent on learning  and  good practice. They investigate  and study all the

subjects that exist just as in India. The rules and ceremonies are not at all different. If  a

Chinese priest  wishes to go to the west in order to hear and read the original scriptures,

he had better stay here one or two years and practice the proper rules.

 Many of the kings and chieftains in the islands of the Southern Sea admire and

 believe in Buddhism, and their hearts are set on accumulating good actions”

            From I-ching’s records and memoirs we gather the following facts:-

1        Fo-shih, the capital, was on the river “Fo-shih”, and it was the chief trading port with China.

2        In 665A.D., Huai-ning, the Chinese monk, went to the state of Ho-ling or Po-ling 

     as I-ching stated some people pronounced the name, as reference by the

     biographics  of  the Chinese pilgrims  to India  which I-ching has compiled. We

     are also told that  Hui-ning on his way to India, stopped for three years in Ho-ling,

     and, in  collaboration with a local monk calledJnanabhadra,translated several

     scriptural  texts.

  
         In 689A.D.,I-ching described that Ho-ling, Tan-tan(Don-din of  the history of Sui),    

and  Pan-pan (I-ching called Pu-pen), all these states became subordinate to the new state of

Fo-shih (Srivijaya). In fact, the country was named “Shih-li-fo-shih”.

            For over a half century, Srivijaya  has been  the major subject of disputes as its

location  remained in obscurities. With these basic uncertainties, we cannot discuss properly

the  history  of ancient Southeast Asia. Some  historians talked about “Mandala”, but  it

explains nothing. What state was the center of the ancient kingdom (Srivijaya), and

where  was it?  Had the ancient state named “Fo-shih” been inexistence at that time? or

was Chaiya a capital of Srivijaya?  Such problems inevitably dominated among the topic

of  discussions.

            To find the lacation of Fo-shih, we have to check I-ching”s itinerary that could bring

the information such as name of places, the duration of times, and distance among the places.

We found that the people at the olden times compared the shadow (with the dial-plate)  to

communicate  with each other  at the place of  observation. We know that the world is round,

so that, at the same time of  day, day of year  and month, the shadow length should be  

different  depends on the area of observation. I would like to know whether I-ching’s

statements about  the  sundial readings based on the observations could be the solution to the

location  of  the capital of Srivijaya since the 6th and 7th centuries. I-ching’s “sundial

readings” would  help  us  to  locate several of  I-ching’s toponyms, such as Fo-shih, Ho-

ling,and Mo-lo-yu. Therefore, it might be the tremendous changes of the history of  Southeast

Asia  especially in  the southern part of Thailand.

Accordingly, from  the geographical information,we have:-

Chaiya district is  at  the north latitude 9 degrees and 8minutes.

                        (The  sun is  over head on the 15th of April and the 30th of August)

Palembang (old  habour,Chiu-chiang)  is  at  the south latitude 3 degrees.                   

                        (The  sun is  over head on the 14th of  March and the 1st of October)


The  location of  “Fo-shih”  and  “Ho-ling” within the Srivijaya  kingdom by the archaeologists  and  historians.



Professor P.J.Bee  worked  out for the location of Srivijaya  in his book “ The Hsin

 Tang Shu, pagssage about Pan Pan” in 1974A.D.  He calculated the location of the capital

using  the information  given in the New Tang History (Hsin Tang Shu)  pointed to the north   

latitude of  6 degrees and  7 minutes and at  that time it was called Shih-li-fo-shih.

      When  we check with I-ching’s itinerary and the sundial readings (gnomon readings),    

the  information  are  as follows:-

            -“In the country of Shih-li-fo-shih, we see the shadow of the dial-plate become neither

long  nor short (i.e.”remain unchanged” or “no shadow”) in the middle of the eight month

(autumn equinox) and at  midday no shadow falls from a man who  stands on that day, so it

is  in the middle of spring(vernal equinox)”.

            -“At  Mo-lo-yu, at  midday,  no shadow falls from a man who  stands on that day”.

It  means that Mo-lo-yu  was on the equator.

            -“At Ho-ling, at noon  on the  day of the summer solstice(on the 21st of  June), 

a gnomon 8 sh’ih in  height  casts a  southern shadow 2 sh’ih 5 fs’un in height”. It  means

that Ho-ling was above  the equator. (note: sh’ih = foot, and  fs’un = inch  in English scale).

            -“At Fo-shih, at noon  on the  day of the summer solstice, a gnomon 8 sh’ih in

height  casts a  southern shadow 2 sh’ih 4 fs’un in height”. It  means that Fo-shih was at

the  north of  the equator  not far from Ho-ling and it was slightly higher than Ho-ling

(north of  Ho-ling).

To  compensate the tilt of the rotation axis of the earth (ɛ)

        With  the information of the article of Mr. Nipon  Saipet, the astronomer of

“The Thai Astronomical Society”, presenting to the scholars of the Science Society

in  2001 A.D.  as follows:-

       Seasons on the earth are due to the tilt of the rotation axis of the earth with   
               
respect  to the normal to the plane of the orbit  of the earth about the sun. ( see

figure)  This calls the “obliquity” and  its symbol  is  ɛ

        Nowadays, this angle (ɛ1) is about 23˚ 26΄ 22˝ ( 23.439444444˚) which  is

the  latitude of the  tropic of  cancer.

        ɛ will  be decreasing to the minimum value 22.6˚ within 10,200  years.   
              
After that, this value will be gradually increasing to reach the maximum value of  24.2˚.            

 Around 10,000 years ago, we  obtained this maximum value.

          We cannot use today’s value ( 23˚ 26΄ 22˝) for  the calculation because of  the errors.

Therefore , we  must compensate with some value to obtain  the  real  obliquity value (ɛ2) 

that had happened during the time of  I-Ching’s journey  to the ten  states of the  southern

seas in 687 A.D. when  he returned   from  India  and stayed  in  the kingdom  of Srivijaya.

From  the calculation we could obtain   ɛ2 = 23˚ 32΄ 25˝

It  means in the year 687 A.D., the value of the tropic of  cancer (ɛ2) was

23˚ 32΄ 25˝.   We  use this value (ɛ2) in our calculation  compare to the time  when

I-Ching stayed in the fortified city of Fo-shih  and the state of  Ho-ling.


  


From  the  calculations, we  could have:-

-Fo-shih  was  at  the latitude 7 degrees and 17 minutes north.

            -Ho-ling  was  at  the latitude 6 degrees and 44 minutes north.            

            Since  Chaiya district is situated at the latitude 9 degrees and 8 minutes north, so that,

Chaiya was not the Fo-shih  state. Also, Nakhon si Thammarat (or Tambralinga) is at the

latitude 8 degrees and 25 minutes north, it was not the Ho-ling state eventhough Nakhon si

Thammarat is obviously at the east coast of  Chaiya. It  was the  misunderstanding or

misplace since we  studied the history of  Srivijaya.   I-ching also pointed out  that Ho-ling

was due east  of the city of  Fo-shih at  a distance that  could be covered in a sea journey of 

four days. The exact location  could  obtain  only from  the calculation which is one of  the 

solution  regarding  Srivijaya  History.

            Therefore, both  Fo-shih  and Ho-ling can be located  with certainty by the

calculations  as  follows:-
           
7 degrees and 17 minutes north is Singhanakhon district in Songkla province      

in South  Thailand.

And.   6 degrees and 44 minutes north is  Yarang district (Langkasuka) in Pattani province

in  South  Thailand.

            Was  it probably that I-ching stayed in Singhanakhon (Chalair sub-district) for six

months to study Sanskrit ?  If this was true, then  he went on board the king’s ship to the

country of Mo-lo-yu  and  arrived there after fifteen days’ sail at a distance of around 1,100 

kilometers.

If  this was possible, it means:-

   ……I-ching  departed from Kwang-fu(Canton) in 671A.D. and after twenty days’ sail  he

was  in Fo-shih (this can be possible). From Fo-shih, he  reached Mo-lo-yu after fifteen days

and  stayed there ( also, this can be possible). Starting the journey from Fo-shih, he could

sail  toward the  south covered with around 70 sea-kilometers per day. Please be noted that,

from  Mo-lo-yu to Palembang (old habour)  could possibly be in five days’sail. The journey  

between  Palembang and Mo-lo-yu  took only a few days not in 15 days as I-ching stated

in  his  itinerary  from Fo-shih  to  Mo-lo-yu.                                                                        

            We  have quite frequent  questions for the Palembang  theory on  I-ching. Did  I-ching

go  to Palembang  within  20 days from Kwang-fu (Canton)?  It might be physically

impossible  to  reach  the old port of  Palembang within  20 days. I-ching also wrote that  it

took  more than one month from  Mo-lo-yu  to Kwang-fu.  Mo-lo-yu (Jambi) was nearer than

Palembang  to Kwang-fu. Therefore, from Kwang-fu to Palembang was  much  longer taking

twice  of the 20 days’ sailing time. This explains why the kingdom of  Srivijaya, the “Shih-li-

fo-shih” of  Chinese document  was not Palembang(old habour) at  that  time.


Fo-shih  attacked Mo-lo-yu  and Palembang.                                                                       

In  685A.D., I-ching embarked  on a  ship from Chieh-cha (Kedah) for the south.

After a month, in 686 A.D., he arrived in the country of  Mo-lo-yu  which had become

Fo-shih.  He arrived in the first or second Chinese lunar month generally in February or

March. At Mo-lo-yu, he measured the shadow length of 8 sh’ih (R ) bar  and  found that at

midday  no  shadow falls  from  a  standing  person ( equal to 0 ).

            The  quoted sentence is an explanation of how Mo-lo-yu become Fo-shih. We  should

explain  why Mo-lo-yu  had become the vassal state of  Srivijaya (Fo-shih). At  that  time, in

682 A.D., the king Sri Jayanasa was the Maharaja of Srivijaya. He  was probably  a  prince

who was made Commander - in- Chief  of  the Srivijaya expedition that conquered 

Palembang as mentioned in ” the South Sumatran inscriptions”. Srivijaya (Fo-shih) based in 

the Malay Peninsula  sent  big  navy to the South of Sumatra and conquered Jambi (or Mo-

lo-yu)  and Palembang to control the whole Malacca strait.

            Rokuro  Kuwata, a  Japanese scholar, made several points  regarding Chih-tu (The

Red  Earth  Land).  In 607 A.D.,Chang-chun was sent as an envoy from Sui court  to

Chih-tu. Rokuro  Kuwata  compared with several evidence and concluded that Chih-tu had

become “Shih-li-fo-shi” as  the capital  of  the region.  In 670-673 A.D., the  king Ho-mi-to 

of  Shih-li-fo- shih  sent envoy to  the  great Tang. Rokuro Kuwata  made a point that Shih-li-

fo-shih  sent  envoys  instead of  Chih-tu  as  it  was “the  same  state”.They sent 8 embassies

to the Tang court during 670-742 A.D.  I-ching  also recorded that the king of Fo-shih (Ho-

mi-to)possessed ships,probably for commerce, sailing between India and Chieh- cha (Kedah).

            According  to  the records  on  Chang-chun’s story of “Chih-tu, the Book of Sui”,

Chih-tu  was  located among the South Sea, the northwards  it faced the ocean, and  the

southwards  was “Ho-lo-tan”.  Ho-lo-tan was probably the same as “Tan-tan” which

mentioned  in  I-ching’s written records.

            Ho-lo-tan (Kelantan) was located on  the east coast of  the Malay Peninsula.        

In  the  Song Shu ( the first Song or Lieu Song ), there  is a  description of  Ho-lo-tan

and  the  relations with Java Shu. Ho-lo-tan  sent  embassies to  the  first Song during

430-452  A.D. and stopped suddenly(Srivijaya  towards Chaiya,Takashi Suzuki, 2012AD).

            According  to  Sui Shu, Tan-tan (Ho-lo-tan)  is  situated in the northwest of Taruma

(West  Java). There  are around 20,000 families. The king holds audiences for two times

every  day. The king  has eight senior ministries who are Brahmans, and the government

style  is  Indian. It  means the location we could expect was the Malay Peninsula  and  not

Sumatra.

            Tan-tan  sent embassy to China as tributary country in 531A.D.  An envoy from  

Tan - tan presented to the Liang court namely 2 ivory images, 2 stupas, fine pearls, cotton

fabrics, various perfumes and drugs.

            According to the  History of Song Dynasty(960-1279A.D.), there  was a country in the 

south sea  called “ San-fo-tsi”. After Sailendra was expelled from Java, the major Srivijaya

city-states  formed  a new allied state, called San-fo-tsi  which was easily approved by the

Song  Dynasty  as the former successor of Shih-li-fo-shih. However, the Song did not know 

the  relation  between Shih-li-fo-shih, the first Srivijaya and San-fo-tsi. When Srivijaya  

group  formed “San-fo-tsi”, the  leader of San-fo-tsi  is unknown.  Anyway, the Sailendra 

could  have established the full hegemony and it is the firm evidence that Shih-li-fo-shih

was  the predecessor of San-fo-tsi. San-fo-tsi sent its envoy to the Tang in 904 A.D.

            I-ching also mentioned that, Fo-shih, the capital was on  the river ”Fo-shih

(the name was  same as  the city).  It  was the  chief trading port with China. The river

 Fo-shih  is  obviously a stream channel of  landform between the Satingpra  cape  and

Nang-kham  island  in  Songkla  lake. There is  a  spectacular view in front as the island

is  located  across  the vast lake so it appears like the channel is a wild river flowing from

the  north  to  the  south side.                                                                                                

Another  entrepột  recorded  by the Chinese annalist is  Pan-pan . Ma-tuan-lin

recorded  about  Pan-pan  in the 6th century. The Chinese chronicler  recorded that Pan-pan 

was  a  small state with no solid city wall and poorly equipped army. The ordinary people

lived  mostly by the water-side, and in default of city walls erected palisades entirely of short

wood.  Ma Tuan-lin, relates that the arrows employed in the kingdom of Pan-pan were

tipped with heads made of a very hard stone; spears are fitted with blades sharpened on their

double cutting edges. Pan-pan  was bordered  by another polity, Langkasuka (Wheatley,

1961:48). We know  something of  the  rituals of the court of Pan-pan. When the king held

audiences, he  was wont to lounge upon a gilt  couch shaped like a dragon. The dignitaries  of

his  entourage  attended  in  a kneeling posture in front of him, the body erect, and the arms

crossed  in such a  manner that the hands rest upon the  shoulders. At  his court  may be seen

many Brahmans,who had come from  India  in order to profit by his munificence. The  king

 favoured  the Indian Brahmans,but there were also Buddhists in the kingdom.

  
 According  to  the Tong-dian,compiled  by Du-you in 801 A.D., Pan-pan in the  6th

century AD, was as follows:-                                                                                                 

” There are  ten  monasteries where Buddhist monks and nuns study their canon.

They  eat  all  types of meat but refrain from wine. There is also one monastery of 

“Daoshis”( religiously advanced devotees; Rishi –Hindu Indian priest ) who partake neither

of meat nor wine. They study the classic of  the  Asura  king ( Ramayana), but they enjoy no

great respect. The ordinary  Buddhist priests are commonly  called  “ pi-chu” ( bhiku  for

male, and bhikuni  for female), the  others “tan” ( Tan  means “Sir”)”.





Details from a Chinese painting  showing  an emissary from Langkasuka 
(Achito, 515A.D.) with  description of  the  kingdom. 
Liang Dynasty’s painting  dated during 526-539 A.D.



The  Center  of  Srivijaya.
Pranjicʹ P. Prasad , Bangkok, Thailand
Email  : pranjicprasad@gmail.com
                                     

The article was reported in Thai in the monthly magazine Art&Culture,
on  the 9th of  July,2015(7 th  issue  of  the  year  2015).

Preliminary  report  submitted  by Pranjic P. Prasad, who  during  the time was  doing  part of  this paper dealing with  the Fine Arts University in Bangkok since July, 2014



References:-                                                                                                                       

1) The Vestige of Srivijaya by Nongkran  Srichai, published in  A.D.2001.

2) The History of Indian Ocean by Dr. Tida Saraya, Muangboran press,A.D.2011. 

3) The Flourish of Dharmaratpura as recorded in the Southern Chronicle by Dharmatart

Panich, The first  meeting and seminar on the Nakhon si Thammarat History, Bangkok:

A.D. 1982.

4) The Historical Evidence of Srivijaya Empire by Chand Chirayu Rajani  M.C.,

The second meeting and seminar on the Nakhon si Thammarat  History, Bangkok :

A.D. 1982.

5) Tambralinga, Srivijaya, the Forgotten Kingdom  by police general  Sanpet

Dharmathikul, published in  A.D. 1995.

6) The article “ The Tilt of the Rotation Axis of the Earth” by Nipon Saipet, presented  at

the  meeting  of  the Royal Scholars, Science Academy, on the 17th of January, A.D.2001.





Vishnu stone; 6th-7th century A.D.
Discovered  at the ancient city pillar in Muang  district, Songkla  province.
On displayed  at the National Museum, Songkla.





Body of Vishnu stone; 7th century A.D.
Discovered  at Khun Chang temple, Ranode  district, Songkla  province.
On displayed  at the National Museum, Songkla.






Shiva bronz; 9th-10th century A.D.
Discovered  at  Nong Hoy in Wat Khanun  subdistrict,Songkla province.
On displayed  at the National Museum, Songkla.





Shiva-lingam;7th - 8th century A.D.
Discovered  at Ban Pangpao, Satingpra  district, Songkla  province.
On displayed  at the National Museum, Songkla.






View  from Satingpra cape to Songkla lake ( Nangkham island) 
in the west. Where it was seen as a river “Bodhi” by I-ching, 
a Chinese visitor in 687 A.D.  Sulaiman, an Arab traveler in 851 A.D., 
also called  the  river  by  the name Sea-large”, which  was flowing 
to  the  sea.






View from the Tigris  River.
This  was  recorded  by an  Arab  traveller (Sulaiman,851 A.D.), who  looked at  the Songkla lake. He  saw  the Nangkham  island  and described the scenery in  front  similarly  to  the  silt  deposited  in  the  Tigris  river, flowing  to Baghdad 
and  Basra.
                  





 The tilt of the rotation axis of the earth (ɛ)

 Note : Refer to the article  of  Nipon  Saipet, The President  of “ The Thai Astronomical Society” ,presented  at  the  meeting  of  the Royal Scholars, Science Academy, on the 17th of January, A.D.2001.










Map of  Songkhla (Fo-shih) and  Pattani (Ho-ling)













วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สุวรรณภูมิ คือเมืองเคดาห์โบราณ

สุวรรณภูมิ คือเมืองเคดาห์โบราณ 
ประจิต  ประเสริฐประศาสน์ นักวิชาการอิสระ        
คำนำ
สุวรรณภูมิ คือเมืองเคดาห์โบราณ  มิใช่ดินแดนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
                คำว่า “สุวรรณภูมิ”ควรจะสะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Suvarnabhumไม่ควรต่อท้ายด้วยสระ i ตามที่ชาวต่างชาติบัญญัติคำศัพท์นี้ขึ้นมาจากคัมภีร์ชาดกภาษาบาลี-สันสกฤตของอินเดียแต่โบราณ เนื่องจากมิได้ออกเสียงว่า mi หลังคำศัพท์นี้
คำว่า สุวรรณภูมิ มิได้มีอยู่จริงในความหมายของดินแดนในภาคกลางหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะเป็นการอุปโลกน์กันไปเองของนักประวัติศาสตร์ของไทยเราด้วยความเข้าใจผิด  และมีการสั่งสอนให้คนไทยเชื่อว่าคือดินแดนในที่ราบภาคกลางหรือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว  คำว่า สุวรรณภูมิ ตามคัมภีร์ชาดกโบราณของทางอินเดียและศรีลังกานั้นเป็นการเรียกชื่อเมืองท่าเคดาห์โบราณ  เท่านั้น  เพราะตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาลนั้น  มีการขนถ่ายทองคำซึ่งเป็นสินแร่อันล้ำค่า  ที่ถลุงได้จากบริเวณคาบสมุทรมลายู   จากนั้นจึงจะนำทองคำมาขึ้นที่ท่าเรือเมืองนี้เพื่อขนส่งต่อกลับไปยังอินเดียหรือศรีลังกา  คำว่า สุวรรณภูมินี้  จึงมิได้มีความหมายถึงดินแดนตามรูปศัพท์แต่อย่างใด  สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการตีความหมายของคำนี้ผิดไป  เพราะนักประวัติศาสตร์เอาคำนี้ไปโยงกันกับคำในภาษาจีนที่ว่า กิมหลิน หรือจินหลิน(Chin-linทั้งที่ความหมายของคำ กิมหลิน หรือจินหลินนี้ ก็มิได้แปลว่าดินแดนทองหรือสุวรรณภูมิ  แต่มีความหมายว่า ขอบเขต หรืออาณาเขต หรือ พรมแดนทอง(Frontier of Gold)ซึ่งจากการค้นคว้าพบว่าคือเมืองเวียงสระโบราณในจ.สุราษฎร์ธานี
สาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นความผิดพลาดของการตีความที่เป็นมาในอดีตนับตั้งแต่มีการศึกษาถึงคำๆนี้  และยังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้เช่นกัน  สมควรจะได้รับการแก้ไขและทำความเข้าใจกันเสียใหม่เพื่อให้เกิดความกระจ่าง  การศึกษาประวัติศาสตร์ยุคโบราณของไทยเราจึงจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้โดยสอดคล้องกับเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

อู่ทองมิใช่ศูนย์กลางของอาณาจักรสุวรรณภูมิ
                ในปีพ.ศ. 2507  ทางกรมศิลปากรได้เชิญศาสตราจารย์  ชอง  บัวเซลิเยร์ (Prof. Jean Bosselier) แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์  ประเทศฝรั่งเศส  มาช่วยสำรวจโบราณวัตถุสถานในประเทศไทย  การสำรวจดำเนินไปปีละ 4 เดือน  เป็นเวลา 3 ปี  คือในพ.ศ. 2507, 2508  และ2509  ผลการสำรวจขุดค้นมีหลายข้อ  แต่มีอยู่ข้อความหนึ่งที่เป็นข้อสรุปในหนังสือ  “สุวัณณภูมิ” , ธนิต  อยู่โพธิ์  ในหน้า  60 ว่า
                “ ท่านศาสตราจารย์  ชอง  บัวเซลิเยร์ระบุถึงราชธานีของสุวัณณภูมิไว้ว่า  เท่าที่ทราบจากหลักฐานต่างๆกันทางด้านประวัติศาสตร์  ข้าพเจ้าคิดว่าเมืองอู่ทองคงเป็นเมืองสุพรรณบุรีเมืองแรก  คือเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ  และเขตแดนทางด้านตะวันตกของอาณาจักรนี้ (คือทางทิศตะวันตกของอาณาจักรฟูนัน)  ก็ตรงกับ“เขตทอง” หรือ “จินหลิน(Chin-linของนักประวัติศาสตร์จีนนั่นเอง  และท่านศาสตราจารย์ผู้นี้ให้ข้อสันนิษฐานว่า ในครั้งนั้นเมืองอู่ทองเป็นเมืองสำคัญทางการเมืองและการปกครอง   แต่นครปฐมเป็นเมืองสำคัญในทางศาสนา”

                ประโยคนี้ทำให้เกิดการสรุปและยอมรับอย่างกว้างขวางว่า  สุวรรณภูมิเป็นดินแดนในที่ราบภาคกลางหรือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  โดยมีศูนย์กลางที่เมืองอู่ทองซึ่งสรุปว่าเป็นราชธานีของอาณาจักรสุวรรณภูมิ และตรงกับคำในภาษาจีนว่า “จินหลิน”  ข้อความนี้มีการยอมรับและนำเสนอกันในหนังสืออื่นๆอีกหลายๆเล่ม  จากนักประวัติศาสตร์ของไทยที่ศึกษาเรื่องนี้กันในสมัยนั้น  ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงนั้น  คำว่า “จินหลิน”แปลว่า  เขตทองหรืออาณาเขตทอง (Frontier of  Gold)  มิได้แปลว่า  
ดินแดนทอง หรือ สุวรรณภูมิ แต่อย่างใด    ท่านผู้รู้ให้ข้อมูลมาว่า  คำว่าดินแดนทองจะตรงกับคำในภาษาจีนว่า  “จินเจียง”  แต่คำว่าจินเจียงนี้มิได้มีปรากฏในบันทึกใดๆของจีน  แต่จีนกลับบันทึกเรียกชื่อแคว้นหนึ่งในทักษิณรัฐของไทยว่า  จินหลิน  ซึ่งชาวจีนรู้จักคุ้นเคยและเข้ามาติดต่อค้าขายด้วยนับตั้งแต่ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 8   ดังปรากฏอยู่ในบันทึกของราชทูตจีน “คังไถ”ซึ่งเข้ามาเยือนอาณาจักรฟูนันในระหว่างพ.ศ. 788-793   บันทึกกล่าวว่า      จินหลินเป็นแหล่งแร่เงินอันเป็นทรัพยากรสำคัญ   ชาวเมืองยังมีอาชีพจับคล้องช้างที่มีอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของชาวจินหลิน  ถ้าได้ช้างเป็นก็นำมาขี่  เมื่อช้างตายก็ถอดเอางา”   ประโยคเหล่านี้นั้น  ระบุไว้โดย  พอล  วีทลีย์ในหนังสือThe Golden Khersonese  ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่วางตำแหน่งของจินหลินไว้ที่ปากอ่าวสยาม  (Bangkok Bight) แต่ก็ยอมรับว่าในลุ่มน้ำสยามนี้ไม่ใช่แหล่งแร่เงินแต่กลับไปนำเสนอว่า  แร่เงินคงนำล่องลงมาขายจากรัฐฉาน (ประเทศเมียนมา)   ผ่านดินแดนล้านนาลงมาสู่เมืองท่าในอ่าวสยาม??
ข้อมูลที่ถูกนำเสนอดังกล่าวข้างต้นนั้น ทั้งข้อสรุปของศ.บัวเซลิเยร์และศ. วีทลีย์  นับว่าเป็นข้อผิดพลาดและขัดแย้งกับบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแคว้น จินหลิน  และเป็นข้อมูลที่ถูกบิดเบือนไปทำให้มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า  จินหลินคือดินแดนทองหรือสุวรรณภูมิ  และอยู่
ในที่ราบภาคกลางของไทย  ในข้อเท็จจริงนั้น  จินหลินจะต้องมีบ่อแร่เงินอันเป็นทรัพยากรที่ติดอยู่ในพื้นที่  ดังนั้นลุ่มเจ้าพระยาในภาคกลางจะเป็นจินหลินไปไม่ได้   และเช่นเดียวกัน  สุวรรณภูมิจะต้องสัมพันธ์กับการค้นพบทองคำหรือเกี่ยวเนื่องกันกับแหล่งแร่ทองคำ   คำว่าสุวรรณภูมิจึงไม่ได้เกี่ยวข้อง
อย่างใดกับที่ราบภาคกลางหรือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา   เพราะเป็นการโยงคำกันไปเองของนักประวัติศาสตร์ดังที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้


หลักฐานเรื่องเมืองสุวรรณปุระ(สุวรรณภูมิ) จากทางศรีลังกา


ตำนานสุวรรณปุรวงศ์ ซึ่งภิกษุศรีลังกาจดไว้มีว่า จักรวรรดิสุวรรณปุระตั้งขึ้นโดยเจ้าชาย
สุมิตรแห่งเมารยวงศ์ ได้เสด็จตามพระนางสังฆมิตตาเถรีพระมารดาผู้เป็นธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช(พ.ศ. 270-311)ในสมัยนั้นพระนางสังฆมิตตาเถรีได้นำกิ่งศรีมหาโพธิ์มาสู่ศรีลังกา   และภายหลังเจ้าชายสุมิตรได้นำกิ่งศรีมหาโพธิ์ไปประดิษฐานไว้ที่ กรุงสุวรรณปุระ (คือเมืองสุวรรณภูมิในรัฐเคดาห์)และได้เป็นปฐมกษัตริย์ของเมารยวงศ์ (คือราชวงศ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช)  ครองราชย์อยู่ ณ เมืองสุวรรณภูมิ(ยังมีบันทึกอยู่ในคัมภีร์มหาโพธิวงศ์ด้วย)
ในบันทึกของทางศรีลังกาในคัมภีร์ชาดกชื่อ “สิงหลวัตถุปกรณ์” ในสมัยของพระเจ้าสัทธา
ติสสะ พ.ศ. 406-424 มีชาดกเรื่องของ มหาเทวะ ผู้ซึ่งจะมานำเอาทองคำจำนวนมากจาก  สุวรรณภูมิ ไปสร้างพระสถูปทองคำถวายแด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า  และอีกเรื่องกล่าวถึงการมานำเอาทองคำจากสุวรรณภูมิของช่างทองที่ชื่อ กุนตะ เพื่อนำไปชดใช้คืนแก่พระราชา  ดังนั้นบริเวณที่มานำเอาทองคำควรเป็นท่าเรือที่เมืองเคดาห์และจะต้องใช้เส้นทางลำเลียงทองคำ (trans peninsular  route) มาจากทางฝั่งอ่าวไทยบริเวณเหมืองทองคำที่นราธิวาส,กลันตัน,ไปจนจดรัฐปาหังในประเทศมาเลเซีย 



บันทึกเรื่องของเมืองสุวรรณภูมิ (Fu-kan-tu-lu) ตามจดหมายเหตุจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น
พงศาวดารจีน เฉียนฮั่นชู (Chien Han Shu) ระบุว่าในพ.ศ.544-548 มีการเดินทางของหัวหน้าล่ามจากกรมขันที (The Department of Eunuchs)  นำคณะทูตเดินทางไปยังประเทศอินเดีย (จีนเรียกฮวงจื้อ) ผ่านคาบสมุทรทางภาคใต้ของไทยไปตามหาสิ่งของหายาก อาทิ เครื่องแก้ว, อัญมณี ฯลฯ เพื่อแลกกับทองคำและผ้าไหมของจีน บันทึกกล่าวว่าบรรดาเมืองที่คณะของกรมขันทีแวะพักล้วนส่งบรรณาการไปจีนแล้วตั้งแต่สมัยจักรพรรดิ วู (Wu) ซึ่งครองราชย์ในช่วงปีพ.ศ. 402-456   Harrison ระบุว่า กองเรือจีนถูกส่งมายังทะเลใต้แล้ว ในช่วงพ.ศ.427-433 (Brian Harrison,1967 : 10)  บันทึกการเดินทางของคณะทูตกรมขันทีกล่าวว่าเดินทางเรือจาก จิหนาน, ซูเวินและฮูโป(อยู่ในจีนทั้งหมด) ในระยะ 5 เดือนมายังตู้หยวน (Tu-yuan, เวียดนาม) และอีก 4 เดือนมายัง อี้หลูม้อ (I-lu-moหรือ จูโหล่วมี่ คือจามปาตามชื่อ จุฬนีพรหมทัตในตำนานพระธาตุพนม)  แล่นใบไปอีกราว 21 วัน ถึงประเทศ เฉินหลี (Shen-liเดินเท้าข้ามคาบสมุทรอีกกว่า 10 วัน มีประเทศ ฟูกานตูลู (Fu-kan-tu-lu)    และต่อเรือไปอีก 2 เดือนเศษถึง ฮวงจื้อ(อินเดีย) 
ข้อมูลเหล่านี้มาจาก  พอล วีทลีย์ ในหนังสือ The Golden Khersonese, p.8-9 ซึ่ง 
ศ.วีทลีย์ให้ทัศนะว่า คณะทูตเดินทางบกจากบริเวณอ่าวไทย (ตามแผนที่ในหนังสือThe Golden Khersonese) ข้ามไปยังอ่าวเมาะตะมะ แล้วจึงเดินเรืออีก 2 เดือนไปอินเดีย ......ความเห็นนี้ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะการเดินทางบกข้ามเทือกเขาตะนาวศรีเป็นความคิดเห็นของศ.วีทลีย์ เท่านั้น   และนักประวัติศาสตร์ของไทยเราก็เห็นคล้อยตามนี้   แต่ในความเป็นจริงบริเวณนี้ในสมัยนั้นไม่มีเมืองท่าเรือใดๆอยู่เลย   การจะเดินทางข้ามคาบสมุทรจะต้องมีท่าเรืออยู่ทั้งสองฝั่ง   หนังสือ ทาริค  ปัตตานี (Tarikh Petani) หรือประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีกล่าวไว้ว่า ลังกาสุกะ(ยะรัง,ปัตตานี)  กำเนิดตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาล  ดังนั้นที่ควรเป็นไปได้คือ คณะทูตมาขึ้นที่ท่าเรือเมืองลังกาสุกะ(เฉินหลีคือเมืองยะรัง)   แล้วเดินบกข้ามคาบสมุทรมลายูไปยังเมืองสุวรรณภูมิ(จีนเรียกฟูกานตูลู) หรือ   ซึ่งมีมาก่อนแล้วและมีบันทึกในตำนาน สุวรรณปุรวงศ์ของทางศรีลังกา  ประพันธ์ขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ามหาเสนะ (พ.ศ.819-846) เรียกสุวรรณภูมิในชื่อของเมืองสุวรรณปุระ   แต่การเดินทางบกนั้นต้องใช้เวลามากกว่า 10 วันอีกเป็นหลายเท่า   ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าชายสุมิตรและสุวรรณปุระก็ดูจะมีน้ำหนักสอด คล้องกับข้อเท็จจริง แต่ในสมัยนั้นคงเป็นแค่ท่าเรือเล็กๆหรือ way stationคือท่าเรือจอดพักค้าขาย และต่อมา ในราวพุทธศตวรรษที่ 7 จึงเกิดเป็นเมืองใหญ่ขึ้นทั้ง 2 ฟากฝั่งทะเล นอกจากนั้นควรสังเกตว่าชื่อเมือง ฟูกานตูลู ตามบันทึกจีนนั้น  มาจากคำ สุวรรณภูมิ นั่นเอง (ฟูกาน = สุวรรณ, ตูลู = ณภูมิ) 
บทวิเคราะห์การเดินทางของคณะทูตจากกรมขันที
บันทึกในจดหมายเหตุจีนที่ส่งเรือมาค้าขายทางทะเลใต้นั้น   Brian  Harrison อ้างหลักฐานจากจดหมายเหตุจีนระบุว่า   กองเรือของจีนถูกส่งมาติดต่อค้าขายกับหมู่เกาะทะเลใต้ในช่วงพ.ศ.427 - 433 (Brian Harrison, 1967 : 10) ส่วนเรื่องคณะทูตจากกรมขันทีที่เดินทางไปประเทศอินเดียตกในราวปีพ.ศ.544-548  บันทึกระบุว่าชาวพื้นเมืองในประเทศทางทะเลใต้รู้จักชาวจีนกันมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ. 544 แล้ว  ตามบันทึกของคณะทูตบอกว่าทุกเมืองที่เดินทางไปถึง  ให้การต้อนรับรวมถึงอาหารการกินและยังอำนวยความสะดวกในการเดินทางเป็นอย่างดี  แสดงว่าพวกชาวทะเลใต้เป็นผู้เจริญแล้ว   เมืองยะรังกับเคดาห์เป็นเมืองท่าที่ควรจะอยู่ตรงนี้จริง  มิใช่ไปขึ้นบกแถวแม่กลองแล้วเดินป่าข้ามเทือกเขาตะนาวศรีไปถึงอ่าวเมาะตะมะตามแผนที่ของ พอล วีทลีย์ ซึ่งไม่มีเมืองท่าใดๆเลย  แล้วพุทธศตวรรษที่ 7 คือต่อมาอีก 100 ปีจะเกิดมีเมืองท่าที่เติบโตขึ้นซึ่งทางแม่กลองและเมาะตะมะไม่มี  เพราะเป็นที่รกร้างไร้ผู้คนหรือผู้คนเบาบาง  เมืองที่ว่านี้ก็ควรอยู่ที่เมืองยะรัง(เตี๋ยนซุน) กับสุวรรณภูมิหรือสุวรรณปุระคือเมืองเคดาห์   นับเป็นความเห็นตามหลักฐานที่สืบค้นมาได้  ซึ่งไปขัดกับทางนักประวัติศาสตร์ของไทยเราที่ไปเชื่อตาม พอล วีทลีย์มาโดยตลอด
เส้นทางระหว่างเคดาห์และเมืองยะรังนี้นี้  ต่อมาในสมัยที่แคว้นเตี๋ยนซุน(คือเมืองยะรัง) ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนันในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 8ตามบันทึกของทูตคังไถนั้น  ก็ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าที่เชื่อมระหว่างฝั่งอันดามันและอ่าวไทย  เมืองชิวชีหรือคูหลี (เคดาห์)  ยังเป็นเมืองท่าที่ราชทูตฟูนันชื่อ ซูวู (Su-wu) มาต่อเรือเพื่อเดินทางไปเจริญไมตรีกับประเทศอินเดียในราวปีพ.ศ. 783 - 787 (ดูราย ละเอียดจากหนังสือ“อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา”,หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ  รัชนี : 19) 
        อีกเรื่องคือ พ.. 675บันทึกจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น   กล่าวถึงประเทศ เยเตี๋ยว (Ye -tiao) หรือ 
ยวาทวีป โดยกษัตริย์  Tiao- pien ( เทวะ.. ?) ส่งทูตไปประเทศจีน  นับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกเรื่องราวของประเทศในหมู่เกาะทะเลใต้ที่ส่งทูตไปยังประเทศจีน และคำว่า ยวาทวีปนี้ ก็หมายถึง
ดินแดนในคาบสมุทรมลายู  มีศูนย์กลางคือเมืองชวาหรือเมืองยะรังในจังหวัดปัตตานีนั่นเอง
ท่าเรือเล็กๆที่จีนเรียก  “เฉินหลี”(Shen - li) ก็คือเมืองยะรัง  ยังมีบันทึกจีนในสมัยราชวงศ์สุย (พ.ศ. 1132-1161)ที่เกี่ยวกับเมืองที่ชื่อว่า  กาละฟูสาระซึ่งในบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเมืองนี้จะมีข้อสรุปว่าเมืองนี้คือเมืองยะรัง(ปัตตานี)  โดยมีบันทึกจีนอีก 3 ฉบับ ที่ระบุว่าจีนได้รู้จักเมืองนี้แล้วเป็นครั้งแรกตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (.. 337-763)  ถ้าเราเปรียบเทียบดูบันทึกการเดินทางของคณะทูตจากกรมขันทีในระหว่างปีพ.ศ. 544 - 548  เมืองที่คณะทูตจีนมาขึ้นบกเดินทางข้ามคาบสมุทรก็คือท่าเรือ 
เฉินหลีซึ่งก็คือเมืองยะรัง  บันทึกของจีนทำให้เราเรียนรู้จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของเมืองยะรังว่าจีนใช้เป็นท่าเรือข้ามคาบสมุทรมาตั้งแต่ครั้งก่อนคริสตกาล  และเป็นความจำเป็นของจีนเองที่ต้องการเปิดเส้นทางค้าขายกับหมู่เกาะในทะเลใต้ที่จะไปสู่การค้าขายกับประเทศทางตะวันตกดังเช่นประเทศอินเดียในที่สุด  ในขณะนั้น เฉินหลี เป็นเพียงท่าเรือเล็กๆหรือ way  stationใช้ในการค้าขาย  แต่ยังมิได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นเมืองท่าค้าขายหรือ ( entreport)   ซึ่งต่อมาคือเมือง
เตี๋ยนซุน  และสมัยต่อมาก็คือเมือง หลั่งยะสิว (ยะรังหรือลังกาสุกะ,ส่งทูตไปจีนในปีพ.ศ. 1058)  บันทึกจีนในสมัยเหลียงระบุว่า หลั่งยะสิวก่อตั้งขึ้นราวปีพ.ศ.658 (โดยประมาณ)  ในปีที่ก่อตั้งเมืองนี้  กษัตริย์ผู้ปกครองควรเป็นชาวเมืองท้องถิ่นและได้ส่งทูตไปประเทศจีนเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 675  ดังที่ปรากฏตามบันทึกจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นในนามประเทศ  เยเตี๋ยว(Ye - tiao)  ซึ่งก็ตรงกับคำว่า  
ยวาทวีปนั่นเอง
ส่วนคำว่า “ฟูกานตูลู(Fu-kan-tu-lu)คำนี้ควรจะมาจากคำว่า  สุวรรณภูมิ  ตรงตามบันทึกในคัมภีร์ชาดกของอินเดียและศรีลังกา รวมถึงในพุทธประวัติซึ่งมีระบุชื่อเมืองท่าเรือสุวรรณภูมิไว้ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล  แสดงว่าบริเวณเมืองเคดาห์ในปีพ.ศ. 544-548 นั้น มีชื่อเรียกกันโดยชาวเมืองท้องถิ่นว่าสุวรรณภูมิ  ต่อมาในสมัยของราชทูตจีนคังไถซึ่งเดินทางมาพำนักในอาณาจักรฟูนันระหว่างปีพ.ศ.788-793 นั้น คำว่าสุวรรณภูมิมิได้เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันแล้ว  แต่ราชทูตคังไถเรียกชื่อเมืองเคดาห์นี้ใหม่ในนามว่า  เมืองชิวชีหรือคูหลี   (Chiu-chih, Chu-liส่วนในสมัยของภิกษุอี้จิงชาวจีนที่เดินทางมาพำนักในกรุงศรีวิชัยในระหว่างปีพ.ศ. 1214-1238นั้น  เรียกชื่อเมืองเคดาห์ว่า เกียฉา (Chieh-cha)
                ส่วนชื่อเมืองเคดาห์ที่เรียกชื่อเมืองว่า “สุวรรณปุระ” นั้น  ตามตำนานสุวรรณปุรวงศ์ของทาง
ศรีลังกา เป็นการบันทึกกันเอาเองของผู้บันทึกในยุคหลังที่ได้ระบุชื่อเมืองไว้และย้อนกลับไปในสมัยของเจ้าชาย       สุมิตรแห่งเมารยวงศ์ในราวปีพ.ศ. 300 เศษ  บันทึกในสมัยของพระเจ้ามหาเสนะ (พ.ศ.819-846) ซึ่งสมัยนั้นเรียกชื่อเมืองว่าสุวรรณปุระ  ก็เลยนำเอาชื่อเมืองนี้ไปใส่ไว้ในประวัติการปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ของเจ้าชายสุมิตรในกรุงสุวรรณปุระ  ถ้าเราวิเคราะห์ถึงชื่อ สุวรรณภูมิ ก็เป็นชื่อดินแดนในคาบสมุทรมลายูซึ่งชาวอินเดียครั้งโบราณเรียกรวมกันว่า  สุวรรณภูมิ (ดินแดนทองคำ)  และได้นำไปเรียกเป็นชื่อของเมืองในสมัยที่มีการสร้างเมืองสุวรรณภูมิขึ้นตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ปัจจุบันซากเมืองสุวรรณภูมิอยู่ที่แม่นำ้ Merbok บริเวณ Sungai Batu  ซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นจนถึงราว
พ.ศ.ุ 653 (ค่าซากอิฐของเมืองสุวรรณภูมิจากห้อง Lab -  ผู้เขียน)   เมืองนี้ก็ได้ล่มสลายไปคือราวกลางพุทธศตวรรษที่ 7 ตามที่ระบุไว้ในตำนานเมืองเคดาห์ 
(Kedah annals)   หรือตำนานมะโรงมหาวงศ์ที่ว่า  ก่อนการก่อตั้งเมืองเคดาห์นั้น  มีอาณาจักรใหญ่แห่งหนึ่งที่ไม่ทราบชื่อ แต่ได้ครอบครองเมืองบริวารคือเมือง "กูหนุงยือไร" (คือเมืองยือแรหรือยะรัง)  รวมถึงอาณาบริเวณข้างเคียง       แต่ได้ล่มสลายไปก่อนการมาถึงของราชามะโรงมหาวงศ์ (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 7)  ตำนานยังระบุไว้ว่า  เมือง   เคดาห์ในยุคหลังสร้างโดยราชามะโรงมหาวงศ์  ตัวเมืองตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่นำ้ Merbok บริเวณ Lembah Bujang ในปัจจุบัน ต่อมาเมืองเคดาห์นี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆอีก อาทิเช่นตามหนังสือกวีนิพนธ์ภาษาทมิฬชื่อ  ปัตนาภาลัย (Pattinappalai) อายุราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2 (ราวพ.ศ.743) เล่าถึงสินค้าเมือง กาลากัม (Kalagam แปลว่าแผ่นดินของชาวกาละหรือชาวทมิฬ-ผู้เขียนที่ส่งไปยังเมืองกาเวริปัตตินัมในอินเดีย  คำว่า กาลากัมต่อมาเขียนเป็น กฑาราม(Kadaram) หรือ กิฑาราม (Kidaram)ในภาษาทมิฬ  ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า กฑาหะ(Katahaต่อมาปรากฏชื่อเรียกเมืองเคดาห์นี้ว่า  “กาลาศาปุระ” ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ กถาสริตสาคร   ประพันธ์ขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 11  ว่าเป็นเมืองหลวงของสุวรรณทวีป (สุวรรณทวีปคือคาบสมุทรมลายู  มิใช่เกาะสุมาตราตามที่นักประวัติศาสตร์บางท่านเข้าใจ ผู้เขียน)     ส่วนชาวศรีลังกาในยุคที่ประพันธ์ตำนานสุวรรณปุรวงศ์ในสมัยพระเจ้ามหาเสนะ (พ.ศ.819-846)  เรียกชื่อใหม่ว่าสุวรรณปุระ  สังเกตเห็นได้ว่า คำว่าสุวรรณปุระก็มาจากคำว่า สุวรรณภูมิ  แต่ตัดคำว่า “ภูมิ” ทิ้งไปและใส่คำว่า“ปุระ” ลงไปแทน  ใช้เป็นชื่อเรียกกันใหม่ในศรีลังกาในยุคนั้น   โดยเรียกเมืองเคดาห์นี้ว่า  
“สุวรรณปุระ” นั่นเอง

ชื่อเมือง “สุวรรณภูมิ” มีบันทึกมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
                มีบทความบางตอน  ที่คัดลอกมาลงไว้ในหนังสือ “สุวรรณภูมิศึกษา”, หน้า 125 ของสำนักงานGistda (สำนักงานพัฒนาอวกาศและภูมิสารสนเทศ)  ซึ่งเป็นบันทึกในพุทธประวัติ  เป็นอรรถกถาของพระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์ทุติยภาค โดยมีข้อความดังนี้

                “คำว่าสุวรรณภูมิปรากฏอยู่ในภิกขุณีวรรค  นาวาวิรุฬหนสิกขาบทที่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนววินิจฉัยว่าด้วยการชักชวนกันโดยสารเรือลำเดียวกันของภิกษุและภิกษุณี  พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุและภิกษุณีชักชวกันลงเรือข้ามฟากได้  มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า  การข้ามฟากไม่ได้หมายถึงแต่แม่น้ำอย่างเดียวและยกคำกล่าวขึ้นมาว่า  แม้ภิกษุใดออกจากท่าชื่อมหาดิษฐ์  ไปสู่ท่าชื่อตามพลิตติก็ดี  ชื่อสุวรรณภูมิก็ดีไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น”

                ซึ่งแสดงว่าตั้งแต่ครั้งพุทธกาลนั้น  พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงชื่อเมืองท่าเรือ 3 แห่ง  แสดงเส้นทางเดินเรือจากอินเดียมายังเมืองสุวรรณภูมิตามลำดับคือ  ท่ามหาดิษฐ์ ไปสู่ ท่าตามพลิตติ (ตามราลิปติอยู่ปากแม่น้ำคงคาในอ่าวเบงกอล) ไปสู่ ท่าสุวรรณภูมิ 

                ในหนังสือ “สุวรรณภูมิ ดินแดนทองแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”, ประทุม  ชุ่มเพ็งพันธุ์ ในหน้า 61ได้กล่าวถึงชื่อเมืองสุวรรณภูมิ   ซึ่งชาวอินเดียรู้จักและเดินทางมาเยือนตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว  ดังมีข้อความโดยละเอียดดังนี้

                “ชื่อสุวรรณภูมิ  ปรากฏอยู่ในหนังสือนิทานชาดกทางพุทธศาสนามานาน  นับตั้งแต่ราวต้นคริสต์ศักราช   จึงเชื่อได้แน่ว่าน่าจะปรากฏมีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว  เนื่องจากได้มีพ่อค้าเดินทางออกไปตั้งสถานีการค้าและเดินทางค้าขายไปมาระหว่างท่าเรือของอินเดียกับสุวรรณภูมิมาก่อนนานแล้วนั่นเอง  โดยทั่วไปก็ยอมรับกันว่าอินเดียกับสุวรรณภูมิเคยติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล  จนมาถึงสมัยพุทธกาลดูจะปรากฏหลักฐานชัดขึ้นว่า  มีการเดินทางติดต่อกันจริง  หนังสือศาสนวงศ์ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อไม่นาน   แต่ได้เก็บข้อมูลหลักฐานจากคัมภีร์เก่าต่างๆมาเขียนใหม่  ได้กล่าวอย่างแน่ชัดว่า  ได้เคยมีการนำพุทธศาสนามาเผยแพร่ยังดินแดนสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก  เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ประมาณ 7 สัปดาห์  โดยพระภิกษุ  2 องค์คือ พระตยุสสะ (ลางแห่งว่าตปุสสะ)  กับ  พระภัลลิกะ




ภาพตามพุทธประวัติ  พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในวันวิสาขะเมื่อมีพระชนมายุได้  35 พรรษา


ต่อมาได้มี  “พระควัมปติเถระ”ได้นำพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ยังดินแดนสุวรรณภูมิอีกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 8 ปี หรือภายหลังจากได้กระทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ เสร็จแล้วนั่นเอง”

                ซึ่งบทความดังกล่าวข้างต้นนี้  แสดงว่ามีการจดบันทึกชื่อเมืองท่าสุวรรณภูมิมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล   ในครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เดินทางมายังคาบสมุทรมลายูนั้น  มีการค้นพบทองคำในดินแดนนี้ จึงเรียกดินแดนนี้ในชื่อโดยรวมว่า  “สุวรรณภูมิ”  แต่มิได้จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน  ต่อมาเมื่อมีการสร้างเมืองสุวรรณภูมิขึ้นมาในสมัยพุทธกาลนั้น (ขอให้ดูข้อมูลการขุดสำรวจบริเวณรัฐเคดาห์ โดยรัฐบาลมาเลเซีย  ซึ่งตรวจสอบแล้วพบว่า  ซากเมืองมีอายุเก่าแก่ถึง 2,500 ปี)   ชื่อสุวรรณภูมิในความหมายว่าเป็น  ดินแดนทอง  ก็ถูกนำมาเรียกเป็นชื่อของเมืองสุวรรณภูมิ  ดังนั้นที่ปรากฏในพุทธประวัติ    และชื่อเมืองสุวรรณภูมินี้  ได้ใช้เรียกขานกันมาถึงราวพ.ศ. 653  เมืองสุวรรณภูมิก็ได้ล่มสลาย
ลงไป และมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่ชื่อว่า "กาละกัม"โดยราชามะโรงมหาวงศ์จากอินเดีย  เมืองเคดาห์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นี้  มีชื่อเรียกในชื่ออื่นๆอีกหลายชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในบันทึกในสมัยต่อมา



ภาพที่ 2 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรเถระ  เป็นประธานในการประชุมกันทำสังคายนาพระธรรมวินัยที่กรุงปาฏลีบุตร  นับเป็นครั้งที่  3  ที่เรียกกันว่า  “ตติยสังคายนา”

พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโปรดให้ทำสังคายนาเป็นครั้งที่ 3
                ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 273-311)นั้น  ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรเถระ  เป็นประธานในการประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ ที่กรุงปาฏลีบุตร  และในการเผยแพร่พระธรรมวินัยตามที่สังคายนาแล้ว  คงปรึกษาพระเถรานุเถระให้เลือกเฟ้นจัดหาและกำหนดพระภิกษุสงฆ์ที่เห็นว่าเป็นผู้มีความสามารถออกไปประกาศพระศาสนาในประเทศต่างๆ รวมทั้งสิ้น  ประเทศ (ราวพ.ศ. 300)  ดังปรากฏนามพระสงฆ์และชื่อประเทศต่างๆซึ่งสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสอบสวนและนิพนธ์ไว้  และรายนามประเทศลำดับที่ 8    คือให้พระโสณเถระ  กับพระอุตตรเถระ 
ไปยังสุวรรณภูมิ”  ประเทศ

การจดบันทึกตัวอักษร “สุวรรณภูมิ” ในยุคประวัติศาสตร์
                ในประวัติศาสตร์ของอินเดียในยุคพระเวทตอนปลายต่อกับสมัยพุทธกาล    เป็นระยะเวลาที่หาหนังสืออ้างอิงได้น้อย  เพราะเป็นเวลาที่เพิ่งจะมีผู้ประดิษฐ์ตัวอักษร “ พราหมี(Brahmi) ขึ้นใช้ในการบันทึก    จึงมีผู้คิดว่าอินเดียอาจจะเคยจดหลักฐานไว้บ้างแต่หาหลักฐานไม่พบมากกว่า  ที่พอจะพบหลักฐานอยู่บ้างก็เป็นแผ่นทองแดงจารึกหลักฐานโฉนดที่ดิน    แต่หนังสือสำคัญที่สุดที่ทำให้เราได้ทราบเรื่องราวของอินเดียในยุคต่อจากยุคพระเวทคือหนังสือพระไตรปิฎก (Tripitaka = Buddhist scripture)  จึงนับว่ายุคพุทธกาลในอินเดียเป็นสมัยที่เริ่มยุคประวัติศาสตร์ที่มีการจดบันทึกลงไว้อย่างแน่นอน
                นักปราชญ์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่นคอปป์ (Koppเลปซิอุส (Lepsius) และเวเบอร์ (Weberลงความเห็นว่า  มีทฤษฎีที่เชื่อได้ว่าตัวอักษรพราหมีนั้น  ได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรของชนเผ่าเซมิติก (Semitic alphabetแต่ก็ยังมีปัญหาอีกว่าเป็นตัวอักษรเซมิติกของชนชาติใดกันแน่ที่มีความคล้ายคลึงกับตัวอักษรพราหมี   นักปราชญ์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ได้ช่วยกันค้นหาความจริงในข้อนี้  จนถึงปัจจุบันนี้  จึงลงความเห็นกันว่าคงรับอิทธิพลมาจากตัวอักษรของ อาราไมจ์  (Aramaic  alphabetเพราะพ่อค้าเผ่าเซมิติกคงเป็นพวกแรกที่มาติดต่อค้าขายกับอินเดีย  แต่มีวิธีเขียนจากขวาไปซ้ายต่างจากวิธีการเขียนหนังสืออินเดียในปัจจุบันนี้   และการที่ตัวอักษรพราหมีแต่ละตัวอ่านออกเสียงเหมือนประสมสระอะ  ก็เป็นอิทธิพลมาจากตัวอักษรอาราไมจ์  ส่วนการเริ่มเขียนตัวอักษรพราหมีเมื่อไรนั้น  นักวิชาการกะประมาณว่าคงตกในราวศตวรรษที่ 7-8 ก่อนคริสตกาล    หรือในราว 100 ปีก่อนการประสูติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า    ซึ่งทรงบรรลุธรรมวิเศษตรัสรู้เมื่อพระชนมายุได้  35 พรรษา  จากนั้นจึงมีการประกาศพุทธศาสนาให้แพร่หลาย  โดยมีสมณะทูตเดินทางไปยังประเทศต่างๆ  แต่ในพุทธประวัติที่มีการรวบรวมมาบันทึกกันไว้ในหนังสือศาสนวงศ์  โดยท่านปัญญาสามี (ชาวเมียนมา)   ได้เก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานจากคัมภีร์เก่าๆที่มีการบันทึกกันไว้มาเขียนใหม่    และมีการกล่าวอย่างแน่ชัดว่า  ได้ปรากฏการนำเอาพระพุทธศาสนามายังสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรกเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ได้ประมาณ สัปดาห์  โดยภิกษุ  “พระตยุสสะ” และ “ พระ ภัลลิกะ”
                ดังนั้นเมื่อมีความเชื่อว่า  ชาวอินเดียได้เคยติดต่อทำการค้ากับดินแดนสุวรรณภูมิ  มาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลนานมาแล้ว  ซึ่งคงมีการเดินเรือเลียบชายฝั่งมาทางดินแดนในประเทศเมียนมา  เลยมาถึงตอนล่างบริเวณชายฝั่งแหลมมลายู  ลักษณะการเดินเรือค้าขายชายฝั่งนี้ได้ค่อยๆขยับขยายมาเป็นทอดๆแบบค่อยเป็นค่อยไปในท้องถิ่น   และในสมัยก่อนพุทธกาลนี้  คงมีการค้นพบทองคำในบริเวณคาบสมุทรมลายู  และตั้งชื่อเรียกดินแดนที่มีการค้นพบทองคำนี้ว่า สุวรรณภูมิ   ดังนั้นศูนย์กลางการเดินเรือก็คือเมืองท่าเรือสุวรรณภูมิ แห่งนี้   ซึ่งเป็นปลายทางของการเดินเรือมาค้าขาย  และมีการขนส่งทองคำกลับไปยังประเทศอินเดีย   จนทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวยอย่างมหาศาลต่อพ่อค้าชาวอินเดียเหล่านั้น  ดังที่มีปรากฏในบันทึกยุคหลัง  เช่นในคัมภีร์อรรถศาสตร์ของท่าน เกาฏิลยะ (สมัยพระเจ้าจันทร์คุปต์  พ.ศ. 222-246) เป็นต้น
                ในสมัยราว 100 ปีก่อนการประสูติของพระพุทธเจ้านั้น   ตัวอักษรพราหมีเพิ่งจะมีผู้คิดประดิษฐ์ขึ้น  เพื่อใช้จารึก  ดังนั้นการจดบันทึกเรื่องของดินแดนสุวรรณภูมิและเรื่องราวของการค้นพบทองคำในดินแดนนี้ในช่วงเวลาก่อนยุคพุทธกาลนั้น  จึงยังไม่มีปรากฏ  เพราะยังไม่มีตัวอักษรขึ้นใช้งานกันอย่างแพร่หลาย   เป็นผลให้นักเดินเรือเหล่านั้นไม่รู้วิธีการจดบันทึกแต่อย่างใด     ดังนั้นเมื่อการจดบันทึกเริ่มมีแพร่หลายขึ้นในสมัยพุทธกาลดังเช่นที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกแล้วนั้น   จึงมีการจดบันทึกคำว่าสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรกในความหมายของชื่อเมืองท่าเรือ  และตามหลักฐานทางโบราณคดีนั้น   มีการสร้างเมืองสุวรรณภูมิขึ้นแล้วในสมัยพุทธกาล  ตามที่ได้มีการขุดสำรวจค้นพบในบริเวณเมืองเคดาห์ บริเวณ Sungai Batu  ที่แม่นำ้ merbokในประเทศมาเลเซีย  และซากเมืองมีอายุเก่าแก่ถึง 2,500 ปี (ยุคต้นพุทธกาล) อย่างชัดเจน    ในสมัยนั้นชาวอินเดียผู้สร้างเมืองนี้ขึ้นมาก็ได้นำเอาชื่อ สุวรรณภูมิ ในความหมายของชื่อดินแดนอันมีลักษณะเป็น generic name (ชื่อทั่วไป)  มาเรียกเป็นชื่อเมืองโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปศัพท์แต่อย่างใด  ถึงแม้คำศัพท์นี้จะมีความหมายว่า ดินแดนทองอย่างชัดเจน   แต่เป็นความนิยมของชาวอินเดียในสมัยนั้น  ที่ใช้เรียกขานกันต่อมาในชื่อนี้ตั้งแต่เริ่มมีการ
บันทึกคำๆนี้ในสมัยพุทธกาล    ดังนั้นชื่อเมืองสุวรรณภูมิที่ปรากฏอยู่ในพุทธประวัติและในยุคต่อมานั้น  จึงมีลักษณะเป็น specific name (ชื่อเฉพาะ)  ที่ใช้เรียกเมืองโบราณนี้แต่เพียงแห่งเดียวตามลักษณะของความเป็นชื่อเฉพาะหรือ specific name นั่นเอง
                     ชาวอินเดียและศรีลังกาแต่โบราณได้เรียกชื่อเมืองนี้ว่า สุวรรณภูมิ  มาจนกระทั่งเมืองนี้ล่มสลายไปในราวพ.ศ. 653     เมืองเคดาห์ถูกสร้างขึ้นใหม่โดย มะโรงมหาวงศ์ที่บริเวณ Lembah Bujang  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ Sungai Batu ในรัฐเคดาห์เช่นเดียวกัน  เมืองเคดาห์มีชื่อเรียกกันใหม่ในชื่ออื่นๆตามที่ปรากฏในบันทึกยุคหลัง  เช่น กฑาราม, กิฑาราม ในภาษาทมิฬ,  กฑาหะ ในรูปของ
ภาษาสันสกฤต   จีนโดยราชทูตคังไถสมัยสามก๊กราวปีพ.ศ.788 เรียกว่า ชิวชี หรือ คูหลี (Chiu-chih or  Chu-li) หรือแม้แต่ชื่อเมือง “สุวรรณปุระ”  คือชื่อเรียกเมืองเคดาห์  ตามที่ชาวศรีลังกาในสมัยของพระเจ้ามหาเสนะ (พ.ศ. 819-846)  ได้บัญญัติขึ้นไว้ในหนังสือปูมแห่งลังกา (The  Ceylonese  chronicleที่มีชื่อว่า   “สุวรรณปุรวงศ์” นั่นเอง

ดินแดน ไครเส หรือ ดินแดนทองตามบันทึกของชาวกรีกและโรมัน
ชาวกรีกและโรมัน ก็ใช้คำนี้คล้ายกับเป็นคำสมญานามของดินแดนที่มีทองคำ  โดยเรียกชื่อว่า
ไครส  หรือไครเส (Chryse)  เราใช้หลักการนี้อธิบายคำว่าดินแดนทองหรือสุวรรณภูมิได้ แต่ต้องแยกกัน เพราะแต่ละเชื้อชาติใช้ไม่เหมือนกัน ห้ามนำมาปนกันหรือรวมความหมายเข้าด้วยกัน เช่นกรีก - โรมันเรียก ไครเส (ละติน Aurea Regio), อินเดียเรียกสุวรรณภูมิแต่ใช้เรียกเป็นชื่อเมืองก็กลุ่มหนึ่ง, ส่วนจีนไม่มีเรียกดินแดนทองเลย แต่กล่าวถึง "จินหลิน" (Chin-lin)  แปลว่าขอบเขตทองหรือพรมแดนทอง (Frontier of Gold) จีนใช้คำนี้ถูกต้องแล้ว เพราะจินหลินเป็นประตูไปสู่ดินแดนทอง   แต่จีนไม่เคยบันทึกคำว่าดินแดนทองเลย   เพราะคำว่าดินแดนทองของจีนคือ   “จินเจียง” ซึ่งคำนี้เราไม่พบในบันทึกใดๆของจีน ไม่ว่าจะเป็นในจดหมายเหตุหรือพงศาวดารของจีนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีแต่คำว่า จินหลิน  และแว่นแคว้นจินหลินนี้  ในยุคสมัยราวกลางพุทธศตวรรษที่ มีนักเดินทางชาวจีนเข้ามาเยี่ยมเยือน โดยต่อมามีบันทึกชื่อและเรื่องราวของแคว้นจินหลินไว้ในพงศาวดารยุคเหลียง (พ.ศ. 1045-1099) รวมถึงในบันทึกจดหมายเหตุจีน
ในยุคหลังๆเช่นเดียวกัน





Ptolemy Asia XI(Malaysia) by Mercator
แสดงแผนที่คาบสมุทรมลายูตามบันทึกในจดหมายเหตุภูมิศาสตร์ปโตเลมี (Ptolemy’s Geography)
ที่มาภาพ:http://www.helmink.com



พระปฏิมาอโมฆปาศที่สุวรรณภูมิ (เกาะสุมาตรา)


พระพุทธรูปอโมฆปาศ  ในปีพ..1829  ถูกเคลื่อนย้ายจากเกาะชวามายังดินแดนสุวรรณภูมิคือเกาะสุมาตรา  เพื่อให้ประชาชนชาวมลายูได้เคารพสักการะ 


               การเคลื่อนย้ายพระปฏิมาอโมฆปาศของชาวชวาภูมิ (ชาวเกาะชวา)ในปีพ.ศ.1829 มายังดินแดนสุวรรณภูมิ  ซึ่งก็คือเกาะสุมาตราที่เมืองมลายู (แจมบิ) นั้น   เพราะเขาต้องพิจารณาแล้วว่าสุมาตรามีเหมืองทองคำ (ชาวพื้นเมืองเรียก "ปูเลา มาส์" แปลว่าเกาะทอง) จึงนำเอาคำสุวรรณภูมิไปใช้เรียกเกาะสุมาตราด้วยเช่นเดียวกัน
                จะเห็นได้ว่ามีการใช้หลักการของ generic name คือใช้คำว่า "สุวรรณภูมิ" เรียกดินแดนที่มีทองคำ  ที่ใดก็ได้  ดังนั้นคำสุวรรณภูมิจึงถูกนำไปใช้เรียกดินแดนต่างๆได้มากกว่า 1 แห่ง  แต่ต้องมีทองคำเป็นหลักเกณฑ์อันสำคัญ ในสมัยต่อมาก็ยังคงใช้หลักการนี้อยู่เสมอๆ  แม้เวลาจะผ่านไปนับพันปีคนที่เกาะชวาในปีพ.ศ.1829  ก็เรียกดินแดนที่มีทองคำหรือเกาะสุมาตราว่าสุวรรณภูมิ   เช่นเดียวกับชาวกรีก-โรมันเรียก    ไครเส   และเช่นเดียวกับชาวอินเดียในยุคแรกเรียกว่า สุวรรณภูมิ  แต่นักประวัติศาสตร์ของไทยเรากลับเอาไปเรียกดินแดนลุ่มเจ้าพระยาที่ไม่มีทองคำอยู่เลยว่า สุวรรณภูมิ ซึ่งต่างจากคนโบราณ เพราะคนโบราณเหล่านั้นใช้คำนี้ได้ถูกต้อง   และถ้าเราไปต่อยอดจากข้อสรุปที่ว่าสุวรรณภูมิคือที่ราบภาคกลางหรืออยู่ในลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาแล้ว คนไทยก็เรียนรู้ตามนี้เชื่อตามนี้ จนเราเอาไปตั้งชื่อว่า สนามบินสุวรรณภูมิ      อันที่จริงแล้วควรจะเรียกว่าสนามบินหนองงูเห่า ตามชื่อเดิมจึงจะถูกต้อง                                              
 ต่อมาเมืองเคดาห์ยังมีชื่อเรียกกันในภาษามลายูว่า “กาละ กา  ปุระ”  และชื่อนี้เป็น  generic  name  คือชื่อโดยรวม  เป็นชื่อลอยๆกว้างๆแปลว่า เมืองของชาวกาละ (มิใช่เป็นชื่อเฉพาะหรือ specific name จึงใช้เรียกเป็นชื่อเมืองได้มากกว่า 1 แห่ง)   และมีการนำเอาชื่อนี้ไปใช้เรียกเมืองยะรัง (คือเมืองลังกาสุกะใน จ. ปัตตานี) ด้วยเช่นกัน  แต่ในบันทึกของนักเดินทางชาวจีนในสมัยราชวงศ์สุยที่เคยเดินทางมายังเมืองยะรังนี้   จะบันทึกผิดเพี้ยนไปเป็นคำว่า“กาละฟูสาระ” (Ko-lo-fu-sha-lo, Paul Wheatley,1961)

                บริเวณท่าเรือที่รัฐเคดาห์นี้เป็นจุดศูนย์กลางในการค้าขาย และใช้เป็นจุดที่ลำเลียงสินค้าขึ้นเรือไปยังประเทศอินเดีย  เป็นท่าเรือที่มีปรากฏในคัมภีร์ชาดกแต่โบราณของทางอินเดียและศรีลังกาแต่จะเรียกกันในชื่อว่า "สุวรรณภูมิ"  ส่วนท่าเรือที่เมืองตักโกลา (พังงา)  จะมีชื่อเสียงทางด้านเนื้อไม้โดยเฉพาะไม้กฤษณา  ก็ใช้เป็นท่าเรือลำเลียงสินค้าเช่นเดียวกัน   แต่ท่าเรือหลักจะอยู่ที่ท่าเรือบริเวณเมือง
เคดาห์นี้  ดังที่ปรากฏในเอกสารจีนเรียกว่า  ฟูกานตูลู ซึ่งก็คือคำเดียวกันกับคำว่าสุวรรณภูมิ  ในสมัย
ต่อมามีเมืองเคดาห์ที่สร้างใหม่  และเจริญเติบโตขึ้นจนกลายเป็นเมืองหลวงเมืองหนึ่งของสุวรรณทวีป (คาบสมุทรมลายู) ในภายหลัง
เนื่องจากคัมภีร์ชาดกของทางอินเดียล้วนมีอายุร่วมสมัยกับ  สิงหลวัตถุปกรณ์ ของทางศรีลังกา  ในคัมภีร์ชาดกบันทึกเรียกเมืองในคาบสมุทรมลายูนี้ว่า  "สุวรรณภูมิ"   และเป็นเมืองแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ชาวอินเดียกล่าวถึง รวมทั้งยังเป็น Greater India (นิคมอินเดียอันไพศาล)   และนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคประวัติศาสตร์   คำนี้ถูกใช้เรียกกันมาจนถึงราวพ.ศ. 653  เมืองสุวรรณภูมิก็ได้ล่มสลายลงไป   ภายหลังเกิดมีคำว่า  สุวรรณทวีป  หรือคาบสมุทรทองคำ   ตามการรับรู้ของนักเดินทางชาวอินเดียที่มีการเดินเรืออ้อมแหลมมลายูแล้วพบว่า  ดินแดนนี้แท้จริงแล้วคือคาบสมุทร  ภายหลังนั้นเมืองเคดาห์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  กาลาศาปุระ  และเป็นเมืองหลวงของสุวรรณทวีป   ส่วนชื่อเมือง "สุวรรณปุระ"  ตามตำนานสุวรรณปุรวงศ์ของทางศรีลังกา  คำนี้จะต้องมีความสัมพันธ์กับคำว่าสุวรรณภูมิ  คำว่าสุวรรณปุระแปลว่าเมืองทอง  แต่บริเวณเมืองเคดาห์เป็นแหล่งแร่ดีบุกและไม่มีทองคำเราจึงตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่า  ท่าเรือ
ที่เมืองเคดาห์จะต้องเป็นจุดขนถ่ายทองคำจากคาบสมุทรมลายูฝั่งตะวันออก  บริเวณที่ทำเหมืองแร่ทองคำที่ติดกับทะเลอ่าวไทย   ดังนั้นการตั้งชื่อเมืองสุวรรณปุระก็จะมีความสัมพันธ์กับทองคำ  และควรมีต้นกำเนิดมาจากคำว่า สุวรรณภูมิ ตามที่บันทึกจีนเรียกว่า  ฟูกานตูลู   แต่ภายหลังจากพุทธศตวรรษที่ 8 เมืองสุวรรณภูมิได้ล่มสลายไป  เราจึงไม่พบคำว่าสุวรรณภูมิในบันทึกของชาวอินเดีย  แต่ปรากฏมีชื่อเรียกเรียกคาบสมุทรมลายูว่า  สุวรรณทวีป  ทั้งนี้ชาวอินเดียเหล่านั้นได้ใช้คำให้ถูกต้องตามลักษณะภูมิศาสตร์ของการเป็นคาบสมุทร  ซึ่งก็คือคาบสมุทรมลายูนั่นเอง   และลักษณะการเปลี่ยนแปลงดังนี้เกิดขึ้นเฉพาะในคาบสมุทรมลายูเท่านั้น  คำนี้ชาวอินเดียใช้เรียกเฉพาะในคาบสมุทร
มลายู  ในดินแดนอื่นๆเช่นในประเทศพม่า (เมียนมา)นั้นไม่มีลักษณะเป็นคาบสมุทร  ไม่มีคาบสมุทรพม่า  ดังนั้นคำว่าสุวรรณทวีปหรือแม้แต่คำว่าสุวรรณภูมินั้น  ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับดินแดนในประเทศเมียนมาดังที่นักประวัติศาสตร์บางคนเข้าใจ

หมายเหตุคำว่า สุวรรณปุระ  มิได้หมายถึงกรุงโบราณที่ไชยาหรือ นครศรีวิชัย  ข้อมูลนี้คลาดเคลื่อน
และเป็นความเข้าใจผิดของนักประวัติศาสตร์ไทยมาโดยตลอด  เพราะ สุวรรณปุระ  ก็คือเมือง
เคดาห์(ไทรบุรี)  ในขณะที่กรุงศรีวิชัย (ตั้งอยู่ที่ ต.ชะแล้  อ.สิงหนครในจ. สงขลา  ซึ่งพิสูจน์ได้จากการคำนวณค่านาฬิกาแดด  ตามบันทึกของภิกษุอี้จิง ระหว่างปีพ.ศ. 1230 - 1238) นั้น  มีบันทึกทางศรีลังกาเรียกว่ากรุง สุวรรณ  ยวะ ปุระ  ซึ่งต่างจากคำ  สุวรรณปุระ  ทั้งนี้การเรียกชื่อจะต้องไม่ซ้ำกันเพราะเป็นคนละเมืองมิใช่เมืองเดียวกัน  ประวัติศาสตร์ตอนนี้มาจากเรื่อง  สุนทรี วฤตตันตะ  ในจารึกพระเจ้ามหินทะที่ 4 เมื่อพ.ศ. 1500 ให้จารึกไว้ที่อภัยคีรีวิหาร  คำจารึกเป็นภาษาสันสกฤต

สุวรรณภูมิในคัมภีร์มหานิเทสของอินเดียคือเมืองโบราณเคดาห์

                ในคัมภีร์ มิลินทปัญหา ซึ่งพระปิฎกจุฬาภัยเถระได้ประพันธ์ขึ้นไว้เมื่อประมาณปีพ.ศ.500 เป็นถ้อยคำของพระมหาเถรนาคเสน ยกมาเป็นข้ออุปมาถวายพระเจ้ามิลินทร์ (เมนันเดอร์พ.ศ.392-413) ดังนี้
               “มหาบพิตรฉันใด นายเรือผู้มีทรัพย์ได้ชำระภาษีที่ท่าเรือเรียบร้อยแล้ว ก็แล่นเรือไปในมหาสมุทรไปวังคะ ไปตักโกละ ไปจีนะ ไปโสวีระ ไปสุรัฏฐะไปอลสันทะ ไปโกลปัฏฏนะ 
ไปสุวัณณภูมิ หรือสถานที่ชุมนุมการเดินเรือแห่งอื่นๆ”
                คัมภีร์มหานิเทสภาษาบาลี อายุราวพุทธศตวรรษที่7-8กล่าวถึงเมืองท่าและสถานที่ติดต่อ
ค้าขายทางเรือไว้หลายแห่ง ดังคำแปลเป็นบางแห่งต่อไปนี้

“เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นเรือไปในมหาสมุทร....ไปคุมพะ(หรือ ติคุมพะ) ไปตักโกละ ไปตักสิลา ไปกาลมุข ไปมรณะปารไปเวสุงคะ ไปเวราบถ ไปชวา ไปกมะลี(หรือตมะลี) ไปวังกะ(หรือวังคะ)ไปเอฬวัททนะ(หรือเวฬุพันธนะ) ไปสุวัณณกูฏ ไปสุวัณณภูมิ ไปตัมพปัณณิ ไปสุปปาระ ไป
ภรุกะ(หรือภารุกัจฉะ) ไปสุรัทธะ(หรือ สุรัฏฐะ)....ไปโยนะ ไปปินะ(หรือปรมโยนะ) ไปอัลลสันทะ”  

                หนังสือมิลินทปัญหาบอกชื่อเมืองท่ามาทั้งหมด 8 แห่ง  มีที่อยู่ในคาบสมุทรมลายู เมือง คือ
ตักโกลา และ สุวัณณภูมิ  ส่วนในคัมภีร์บาลีมหานิเทส บอกชื่อเมืองท่า 24 เมือง จะเห็นได้ว่าชื่อ
สุวัณณกูฏ,สุวัณณภูมิ,และตัมพปัณณิ ล้วนแล้วแต่เป็นชื่อเมืองท่าทั้งหมด (มิใช่ชื่อดินแดนตามรูปศัพท์)


       จากนั้นจะมาพิจารณาเรื่องของ สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นคำถามหลักมาทุกยุคสมัยว่า สุวรรณภูมิคือที่ใด?
                เรามาตรวจดูที่เมืองท่าในคัมภีร์มหานิเทสอีกครั้งหนึ่ง เราพบว่ามีชื่อเมืองท่าในคาบสมุทร
มลายู 3 แห่ง คือตักโกลา (เมืองตะกั่วป่าโบราณในจ.พังงา), ชวา (เมืองยะรัง), และ กมะลี (คือตะมะลีหรือตามพรลิงค์)   แล้วเมืองเคดาห์ (เคดาห์หรือไทรบุรี เป็นชื่อที่เรียกกันในยุคปัจจุบันเท่านั้น) ซึ่งเป็นเมืองท่าเรือสำคัญอยู่ที่ไหน? ก่อนอื่นจะขอยกบทความในหนังสือเมืองทองหรือสุวรรณภูมิ,  ผล  ศิริวัฒนกุลในหน้า 19 มาประกอบการพิจารณา ดังนี้
“เมื่อการสังคายนาครั้งที่ 3 เสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์มคธในอินเดีย ได้จัดส่งพระโสณะกับพระอุตตระมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ มีอ้างถึงในชาดกหลายเรื่องทำให้เห็นเค้าเงื่อนว่าแว่นแคว้นนี้(สุวรรณภูมิ)ตั้งอยู่ชายทะเล หรือมิฉะนั้นก็คงมีเมืองท่าค้าขายสำคัญอันชาวอินเดียเคยไปมาเสมอ

                จะเห็นว่าความเห็นของ อาจารย์ผลในหนังสือ "เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ" กับประโยคที่ว่า สุวรรณภูมิที่อ้างในชาดกหลายเรื่องนั้น ตั้งอยู่ชายทะเลหรือเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญที่ชาวอินเดียไปมาอยู่เสมอ  ดังนั้นเมืองนี้จะเป็นเมืองอะไร? ตั้งอยู่ที่ไหน? ย้อนกลับมาดูคัมภีร์มหานิเทส   โดยได้บันทึกชื่อไว้แล้วในนามของ เมืองสุวรรณภูมิ (หนังสือ เมืองทองหรือสุวรรณภูมิเขียนขึ้นในปีพ.ศ. 2479 ซึ่งในขณะนั้น  นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าคือดินแดนตามรูปศัพท์  ต่อมาจึงเกิดทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับสุวรรณภูมิอย่างมาก โดยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสุวรรณภูมิอยู่ที่ใด  เป็นผลให้เกิดมีข้อถกเถียงกันในเรื่องของสถานที่และหาข้อสรุปยุติกันไม่ได้มาจนกระทั่งทุกวันนี้)  คำว่าสุวรรณภูมิตามรูปศัพท์หมายถึงดินแดนทอง แต่ในกรณีนี้นำไปใช้เรียกเมืองโบราณที่ Sungai Batu  ริมแม่นำ้ Merbok บริเวณรัฐเคดาห์ซึ่งเป็นท่าเรือสำคัญ ดังนั้นชาดกแต่ครั้งโบราณนั้น ถ้าเอ่ยถึงสุวรรณภูมิก็จะหมายถึงเมืองโบราณนี้ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของชาวอินเดียเหล่านั้น และเป็นที่ชุมนุมการค้าโดยเฉพาะทองคำซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของนักแสวงโชคเหล่านั้นมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
เมื่อครั้งที่ราชทูตจากกรมขันทีของจีนที่เดินทางเรือไปอินเดียระหว่างพ.ศ.544-548(สมัยราชวงศ์ฮั่น)  คณะทูตจีนมาขึ้นบกที่ท่าเรือเฉินหลีซึ่งก็คือเมืองยะรังก่อนจะเดินทางบกข้ามคาบสมุทรมลายูเพื่อต่อเรือไปประเทศอินเดียที่เมืองสุวรรณภูมิ และเรียกชื่อเมืองนี้ตามชาวพื้นเมืองแต่เรียกตามสำเนียงจีนว่า ฟูกานตูลู ซึ่งหมายถึง สุวรรณภูมิ จากบันทึกจดหมายเหตุจีนนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า ในปีพ.ศ.544 มีการเรียกชื่อเมืองนี้ว่า สุวรรณภูมิ และตรงกันกับจุดหมายปลายทางของชาวอินเดียตามที่ปรากฏในคัมภีร์ชาดกว่า เดินทางมาค้าขายยังเมืองสุวรรณภูมินั่นเอง ดังนั้นเมืองท่าหลักในคาบสมุทรมลายูตามบันทึกในคัมภีร์มหานิทเทสอายุราวกลางพุทธศตวรรษที่นั้น อาทิเช่น
เมืองตักโกลา (อยู่ในจ.พังงา), สุวรรณภูมิ(บริเวณ Sungai Batu)ชวา (เมืองยะรัง),และกมะลี (ตามพรลิงค์)   เป็นเมืองท่าหลักครบทั้ง 4 เมืองตรงตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์บาลีมหานิทเทส มิได้ตกหล่นหรือละเว้นเมืองท่าสำคัญไปแต่ประการใด
หนังสือวรรณกรรมอินเดียเรื่องรามายณะ(รามเกียรติ์)   ประพันธ์ขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ 8  เรียกชื่อคาบสมุทรมลายูว่าสุวรรณทวีป (Suvarnadvipaซึ่งมีความหมายว่าคาบสมุทรทองคำ  ซึ่งสมัยต่อมามีชื่อเมืองที่กล่าวถึงได้แก่  เมืองตักโกลา (Takola),  กฑาหะทวีป (Katahadvipa), และตะมะลี (Tamali)    
ในยุคของอาณาจักรศรีวิชัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18) ก็ล้วนแต่บันทึกคำว่า สุวรรณทวีป มาโดยตลอด
                                                                                                                                    



รายชื่อเมืองท่าในคัมภีร์มหานิเทสเทียบกับจดหมายเหตุปโตเลมี

ไครเส = เมืองแปร(Prome) = สุวัณณกูฏ

เบซิงงา (Besynga Emporium) = เวสุงคะ = สุธรรมวดี 
(สะเทิม,Thaton)

เบราไบ (Berabai) = เวราบถ = มะริด

ตะโกลา(Takola) = ตักโกลาคือตะกั่วป่าโบราณ
ที่เขาพระนารายณ์ อยู่ที่ต.เหล อ.กะปง จ.พังงา
(มิใช่อยู่ในจังหวัดกระบี่หรือตรังตามที่บางท่านเข้าใจ)

ปาลันดา (Palanda) = เคดาห์ (ไทรบุรี)

ซาบานา (Sabana Emporium) = มรณปาร 
(เมืองมลายูหรือแจมบีกลางเกาะสุมาตรา)

โกลี โปลิส (Kole Polis) = ชวา, คือเมืองยะรังในปัตตานี

เปริมูล่า (Perimoula = เมืองปาตลิบุตร หรือ ปาฏลิบุตร)  
= ตะมะลี คือเมืองนครศรีธรรมราช

เมืองอื่นๆ
ไมโสเลีย (Maisolia)  มีเมืองท่าหลักคือ Alosygni Emporium 
= เมืองมะสุลิปะตัมอยู่ปากแม่น้ำกฤษณา   ส่วนแม่น้ำกฤษณานั้น 
รีกเรียกชื่อว่าแม่น้ำไมโสลอส (Maisolos)

คุมพะ(Gumba) หรือ ติคุมพะ คือเมือง “หัตธิกุมภา” 
อยู่ปากแม่น้ำมหานที เมืองนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่าทันตปุระ(Dantapura) 
หรือทันตบุรี ซึ่งมีชื่ออยู่ในตำนานพระเขี้ยวแก้ว และตำนานเมืองนครศรีธรรมราช

ปาลัวรา (Paloura) = วังกะ (วังคะหรือเบงกอล) 
คือเมืองตามราลิปติอยู่ปากแม่น้ำคงคา

แอร์ราดอย (Airrhadoi) เป็นดินแดนในบังคลาเทศ  อยู่ทางเหนือของเมืองปาลัวรา   
มีเมืองท่าหลักคือ บาราเการา

บาราเการา (Barakoura)  เมืองนี้ตามข้อสันนิษฐานน่าจะเป็นเมือง
จิตตะกองในบังคลาเทศ

เบราบอนนา (Berabonna) = เอฬวัททนะ(Elavaddhana) 
คือเมืองท่าอยู่ในรัฐอาระกันประเทศเมียนมา 
คาดว่าปัจจุบันคือเมืองพะสิม (Bassein)

กามารา (Kamara) = แหลมโคมาเรีย (Cape Komaria) 
ปัจจุบันเรียกว่าแหลมโคมาริน ซึ่งอยู่ตอน
ใต้สุดของประเทศอินเดีย
            จดหมายเหตุ เปริปลุสข้อ 60  กล่าวถึงการเดินเรืออ้อมแหลม
กามารา(Kamara)  ใต้สุดของอินเดียผ่านเมืองตลาดโปดูเก (Podouke) 
และโสปัตมา (Sopatma) 

โปดูเก (Podouke)คือ เมืองปูการ์ (Pukar) หรือ ปูหาร์  
คือเมืองกาเวริปัตนัม (Kaveripattam)

โสปัตมา(Sopatma) คำว่า ปัตมาควรเป็น ปัตนะ และคำว่า "โส" คือ "โกล" ในคัมภีร์มิลินทปัญหา
ที่ประพันธ์ในราวปีพ.ศ.500 โดยปิฎกจุฬาภัยเถระ มีระบุชื่อเมืองท่า 
“โกลปัตนะ” เทียบได้กับคำว่าโสปัตมา ดังนั้นเมืองโสปัตมาหรือ
โกลปัตนะจึงควรเป็นเมืองเดียวกันกับเมือง นาคปัตนัม อยู่ปากแม่นำ้กาเวริ 

เมื่อครั้งที่ทูตขันทีชาวจีนเดินทางไปเยือนประเทศอินเดียในระหว่าง
ปีพ.ศ.544 - 548นั้น  บันทึกเรียกเมืองนี้ซึ่งอยู่ในประเทศอินเดียว่า“ฮวงจื้อ(Huang-chih)   
นักประวัติศาสตร์บางท่านเห็นว่า  เป็นเมืองเดียวกันกับเมือง 
นาคปัตนัม  เป็นเมืองหลวงของพวกทมิฬโจฬะ  ที่ตั้งอยู่ปากแม่นำ้กาเวริ                                                                                                                         

ข้อมูลจากหนังสือ“เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ”, ผล ศิริวัฒนกุล หรือขุนศิริวัฒนอาณาทร พ.ศ. ๒๔๗๙ ในหน้า 19,80, และ 96 ระบุไว้ดังนี้
“แว่นแคว้นสุวรรณภูมิ มีอ้างถึงในชาดกหลายเรื่องทำให้เห็นเค้าเงื่อนว่าแว่นแคว้นนี้(สุวรรณภูมิ)ตั้งอยู่ชายทะเล หรือมิฉะนั้นก็คงมีเมืองท่าค้าขายสำคัญอันชาวอินเดียเคยไปมาเสมอ”......
                สุวรรณภูมิหรือเมืองทอง ไม่ใช่ชื่อแหลมทองทั้งแหลม เป็นเพียงชื่อดินแดนบางส่วนของ
แหลม(หรือคาบสมุทรมลายู) นี้เท่านั้นเอง.....และสุวรรณภูมิเป็นเพียงแว่นแคว้นอันหนึ่งเท่านั้น จึงไม่มีทางที่จะเข้าใจว่าสุวรรณภูมิเป็นชื่อแหลมเสียเลย....               
ชาดกต่างๆเฉพาะทำเลค้าขายที่สุวรรณภูมินี้   อย่างน้อยในครั้งพุทธกาล สุวรรณภูมิจะต้องอยู่สุดทางค้าขายฝ่ายทิศตะวันออกของชาวอินเดีย เพราะชาดกใดๆก็ไม่มีกล่าวถึงบ้านเมืองอื่นต่อไปอีก
ศ.ดร.ผาสุข  อินทราวุธ  ในหนังสือ “สุวรรณภูมิจากหลักฐานโบราณคดี” หน้า 198 มีระบุว่า
“วรรณกรรมด้านการปกครองได้กล่าวถึงพวกพ่อค้าจากประเทศอินเดียที่ตั้งใจแล่นเรือออกมาค้าขายยังสุวรรณภูมิ  แล้วเผอิญเรืออับปางลงกลางมหาสมุทรทั้งสิ้น  แสดงว่าสุวรรณภูมิเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเล ที่ชาวอินเดียรู้จักกันดี  และนิยมเดินทางมาค้าขายเพื่อแสวงหาโชคและความร่ำรวย”
                ซึ่งแสดงว่า สุวรรณภูมิเป็นแว่นแคว้นหรือเมืองๆหนึ่ง ที่อยู่ในแหลมทองหรือคาบสมุทร
มลายูเท่านั้น   สุวรรณภูมิเป็นปลายทางของเส้นทางเดินเรือที่มาจากอินเดีย   การเดินทางต้องประสบความยากลำบากนานับประการ  จึงจะเดินทางมาถึงเมืองสุวรรณภูมิได้  และสุวรรณภูมิจะต้องตั้งอยู่ชายทะเล และเป็นเมืองท่าสำคัญจากการค้นคว้าก็มิใช่เมืองอื่นใดแต่เป็น ไทรบุรีหรือเคดาห์ ซึ่งเคยเป็นจังหวัดของไทยเราในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5   บันทึกทางอินเดียและศรีลังกาไม่ได้ใช้ชื่อนี้ตามความหมายที่แปลตรงตัวว่า แผ่นดินทอง แต่กลับเอาไปเรียกเป็นชื่อเมือง คือเมืองสุวรรณภูมิ  มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลตามที่อาจารย์ผลเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า อินเดียใช้เรียกชื่อมาตั้งแต่ครั้งนั้นแล้ว   และในชาดกยุคแรก เช่นมหาชนกชาดกหรือสังขพราหมณชาดก หรือแม้แต่ คัมภีร์อรรถศาสตร์แต่งโดยท่าน
เกาฏิลยะสมัยพระเจ้าจันทร์คุปต์ปู่ของพระเจ้าอโศก พ.ศ.222-246  ก็ใช้คำว่า "สุวรรณภูมิ" ในความหมายเป็นชื่อเมืองทั้งหมด  คัมภีร์อรรถศาสตร์บอกว่าสินค้าอย่างหนึ่งที่มาจากสุวรรณภูมิคือไม้อะกูรูหรือไม้กฤษณา  
ดังนั้นตามคัมภีร์ชาดกโบราณคำว่า สุวรรณภูมิ ใช้เรียกในความหมายของชื่อเมืองไม่ใช่ดินแดน   ถ้าเราไปแปลว่า  “เมืองดินแดนทอง” ตามรูปคำศัพท์  เราแปลอย่างนี้ไม่ได้  ถ้าจะแปลก็ควรแปลว่า  เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ  ตามชื่อหนังสือของ อาจารย์ผล ศิริวัฒนกุล  ที่ท่านเป็นนักประวัติศาสตร์เพียงคนเดียวที่สรุปมาให้พวกเราดูตามนี้   
นักประวัติศาสตร์ ท่านอื่นๆเช่น ท่านมาชุมดาร์ (R.C. Majumdar) ชาวอินเดีย  หรือของเราก็มีหลายท่านต่างก็เข้าใจว่าเป็นดินแดนตามรูปศัพท์   และบางครั้งก็มีความเข้าใจว่าคือดินแดนคาบสมุทรทอง (คาบสมุทรมลายู) ตามที่นายเรือชาวกรีกที่ชื่ออเล็กซานเดอร์เรียก Golden Khersonese (ข้อมูลในจดหมายเหตุปโตเลมี อายุราวพ.ศ.700) และ ตรงกับคำ สุวรรณทวีปของอินเดีย    ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ทุกคนที่ศึกษาเรื่องนี้ ก็เข้าใจผิดกันมาอย่างนี้โดยตลอด  สุวรรณภูมิ  จึงไม่ใช่ สุวรรณทวีป  มีความหมายต่างกัน  และเกิดขึ้นต่างกันคนละยุค

โดยสรุปคือ “สุวรรณภูมิ” ไม่ใช่ “สุวรรณทวีป”  เพราะสุวรรณภูมิคือเมืองท่าเรือที่ “สุไหงบาตู”  ในประเทศมาเลเซีย  แต่สุวรรณทวีปคือ คาบสมุทรทองคำ (แหลมทอง หรือ  Golden Peninsula)   หรือเรียกว่าคาบสมุทรมลายูก็ได้            อเล็กซานเดอร์ชาวกรีกเรียกว่า “ไครเส เคอร์โสนีส”  ทั้งสองคำเกิดขึ้นต่างสมัยกัน  และไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด


บทสรุปโดยสังเขป
เรื่องของสุวรรณภูมิคือเมืองโบราณบริเวณ Sungai Batu ในรัฐเคดาห์   ค้นพบมาจากเรื่องของการเดินทางของทูตจีนไปยังประเทศอินเดียในระหว่างปี พ.ศ.544 - 548   เดินเรือมาขึ้นบกที่เมือง เฉินหลี (Shen-li) คือท่าเรือเมืองยะรังในปัตตานี   ต่อมามีบันทึกจดหมายเหตุจีนในสมัยราชวงศ์สุย (พ.ศ.1132-1161) ระบุในหนังสือทั้ง 3 เล่ม คือ  ดงเดียน และ เวนเซียนตุงเกา และ ไทปิง  ฮวนยูชิ  เรียกชื่อเมืองยะรังว่า กาละ ฟูสาละ  ระบุว่าเป็นเมืองท่าเรือที่จีนรู้จักครั้งแรกตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นแล้ว  ผู้บันทึกจดจำภูมิประเทศได้แต่เขาจำไม่ได้ว่าตอนสมัยราชวงศ์ฮั่นนี้มีชื่อเมืองเรียกว่าอะไร   เมืองนี้ก็คือเมืองเฉินหลีนี่เอง  สมัยฮั่นในปีพ.ศ.544 นั้น  ตรงกับคริสตกาลซึ่งก็คือ ค.ศ. 1   คณะทูตจีนเดินทางบกจาก
เมืองเฉินหลีข้ามคาบสมุทรมลายูไปที่รัฐเคดาห์  เรียกชื่อเมืองตามสำเนียงจีนว่า "ฟูกานตูลู"   ซึ่งก็คือคำว่าสุวรรณภูมินั่นเอง     บันทึกนี้ยังแสดงถึงต้นกำเนิดของเมืองยะรัง  เพราะตรงนี้คืออ่าวโค้ง 1,000 ลี้  เป็นแผ่นดินแรกขึ้นจากท้องมหาสมุทร (เดินเรือมาจากฟูนัน)  เป็นท่าเรือที่ดีที่สุด ทั้งหมดบันทึกไว้โดยราชทูตคังไถ ปลายพุทธ
ศตวรรษที่ 8ในเรื่องของเมืองตุนซุนหรือเตี๋ยนซุน ก็คือเมืองยะรังนี่เอง   เรื่องราวเหล่านี้มาจากหนังสือ 
The Golden Khersonese ของพอล วีทลีย์,1961 p.8-9  ตรวจสอบเทียบกับคัมภีร์มหานิเทสของอินเดีย  ซึ่งประพันธ์ไว้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 7 แล้ว พบว่า สุวรรณภูมิ ตรงกับเมืองโบราณที่ Sungai Batu ในรัฐเคดาห์   เป็นชื่อเมืองท่าเรือที่ระบุไว้ในบันทึกอย่างชัดเจน  ไม่ใช่ชื่อดินแดนตามที่นักประวัติศาสตร์ของไทยเราเข้าใจกันมาแต่เดิม  อินเดียเอาคำนี้ไปเรียกผิดความหมายเพราะนำเอาคำ สุวรรณภูมิ = ดินแดนทอง  คำนี้นำไปเรียกเป็นชื่อเมืองท่าเรือ  ซึ่งแสดงว่าคำ สุวรรณภูมิ จะต้องเก่าแก่มากเพราะมีบันทึกไว้ในพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว    มีอยู่ในปูมการเดินเรือที่ทำให้ง่ายลงไปว่าเป็นตำแหน่งของเมืองท่า ดังนั้นสุวรรณภูมิจึงไม่ใช่ลุ่มเจ้าพระยาหรือดินแดนไหนๆตามที่นักประวัติศาสตร์ของไทยเราเข้าใจกัน  ซึ่งผิดทั้งหมด    นอกจากนั้นมีการนำเอาคำว่า “จินหลิน” ของจีนตามบันทึกของทูตคังไถ ที่แปลว่า ขอบเขตทอง หรือ พรมแดนทอง (Frontier of  Gold) มาสรุปว่าเป็นคำเดียวกับคำว่าดินแดนทอง
หรือ สุวรรณภูมิ (Land of Gold) และตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไม่ถูกต้อง  พอล วีทลีย์ในปี ค.ศ. 1961  บอกว่า แคว้นจินหลินอยู่ที่บริเวณปากอ่าวของกรุงเทพฯ (Bangkok  Bight) ก็ผิดพลาดเช่นเดียวกัน    เพราะในบันทึกของราชทูตคังไถเองยังระบุว่า  จินหลินมีบ่อแร่เงินและมีช้างมาก  
ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไม่มีแหล่งแร่เงิน   จึงไม่ใช่แคว้นจินหลิน    และเช่นเดียวกัน  ถ้าไม่มีทองคำก็ไม่ใช่สุวรรณภูมิ  และเราจะต้องแก้ไขประวัติศาสตร์ของเรากันใหม่  จึงจะสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่มีการบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์    นอกจากนั้นจากการค้นคว้าพบว่า   แคว้นจินหลินก็คือเมือง เวียงสระโบราณในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นั่นเอง









ภาพจาก Bernama, August 2015 : แสดงหลุมขุดสำรวจที่เมือง Sungai Batuในรัฐเคดาห์ของมาเลเซีย  โดยมีหัวหน้าคณะสำรวจคือ Prof. Mokhtar Saidinจาก UniversitiSains Malaysia Global Archaeological Research Centre จากการตรวจสอบค้นหาอายุของโบราณสถานแห่งนี้ โดยวิธี Radiocarbon และ OSL technique (เทคนิคทางด้านของแสง)   พบว่าซากศาสนสถานรูปวงกลมมีอายุ เก่าแก่ 1,900 ปี   ส่วนซากเมืองมีอายุเก่าแก่ถึง 2,500 ปี (สมัยต้นพุทธกาล)  ซึ่งสร้างความตื่นตะลึงให้แก่คณะสำรวจ  มีการจัดประชุมกันระหว่างตัวแทนจากรัฐเคดาห์และรัฐบาลกลางของมาเลเซีย   โดยมีข้อสรุปว่า ซากเมืองมีอายุเก่าแก่กว่าสมัยฮินดู, พุทธ,มุสลิมหรืออาณาจักรต่างๆ (เช่นฟูนัน,จามปา ฯลฯ) ดังที่เคยมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์  นับเป็นอารยธรรมแรกสุดที่ปรากฏอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   จึงสมควรที่จะต้องมีการชำระแก้ไขประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันเสียใหม่   โดยจะประสานงานชี้แจงให้บรรดาประเทศต่างๆในอาเซียนได้รับทราบผลการขุดสำรวจนี้ในภายหลัง
เมืองที่กำลังขุดสำรวจกันอยู่นี้คือ “เมืองสุวรรณภูมิ”  ขณะนี้ทางคณะสำรวจยังไม่ทราบแน่ชัดเลยว่าเป็นเมืองใด?  ผู้เขียนได้พยายามติดต่อไปทางสถานทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย  เพื่อให้ช่วยติดต่อประสานงานแจ้งให้ทางคณะสำรวจได้รับทราบ   ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ต่างๆของคณะสำรวจ   เพราะมีข้อมูลอ้างอิงได้ จากการค้นคว้าที่มีอยู่ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ของทางอินเดียและ
ศรีลังกามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล



หมายเหตุท้ายเรื่อง :
                ในหนังสือ ทาริค ปัตตานี (Tarikh  Petani)  ของมลายู  ตอนหนึ่งมีระบุว่า  “ลังกาสุกะฝั่งตะวันออกมีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาติต่างๆรวมทั้งอินเดียได้หันไปทำการค้าขายทางฝั่งทะเลตะวันออกมากขึ้น ทำให้ราชธานีของลังกาสุกะที่เคดาห์และการค้าที่เกาะลังกาวีซบเซาลง ราชธานีแห่งใหม่ของลังกาสุกะจึงย้ายมาอยู่ที่ปัตตานีมีชื่อว่า โกตามหลิฆัย (Kota Mahaligai) ซึ่งเชื่อกันว่าตั้งอยู่ในบริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวเดิมเรียกว่า ยือแร (Djere) 
                และคำว่า “ยือแร”  นี้เอง  ที่ราชทูตจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ปีพ.ศ. 544  เดินทางจากจีนไปอินเดีย  บันทึกจีนระบุว่าเดินเรือมาขึ้นบกที่เมืองเฉินหลี (Shen - liแล้วเดินทางบกข้ามคาบสมุทรไปยังเมืองฟูกานตูลู (สุวรรณภูมิ)  เพื่อต่อเรือเดินทางไปอินเดียอีกทอดหนึ่ง  เมืองเฉินหลี
ตามบันทึกจีนนี้ ก็คือเมือง “ยือแร” ที่เรียกกันแต่ครั้งโบราณ และคือชื่อเมืองยะรังในปัตตานีนั่นเอง

หนังสืออ้างอิง                                                                                                                                                                   
ครองชัย  หัตถา ,รศ. ดรปัตตานี  การค้า  การเมืองและการปกครองในอดีต   โครงการปัตตานีศึกษา
                คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ปัตตานี,๒๕๔๑.                     
ธนิต  อยู่โพธิ์. สุวัณณภูมิ. กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ : ... ศิวพร, ๒๕๑๐.
ธรรมทาส  พานิช. ไชยา - ที่ตั้งนครหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย. กรุงเทพฯ : อรุณวิทยา, ๒๕๓๒.
                ........ประวัติศาสตร์ไชยา - นครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ : อรุณวิทยา, ๒๕๔๑.
ประทุม  ชุ่มเพ็งพันธุ์.สุวรรณภูมิ ดินแดนทองแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก,
               ๒๕๔๖.
ผาสุข  อินทราวุธ,ศ.ดร.สุวรรณภูมิจากหลักฐานโบราณคดี.กรุงเทพฯ:ภาควิชาโบราณคดี  
              คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๘ 
มานิต  วัลลิโภดม. ทักษิณรัฐ. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ ,๒๕๓๐.
                ……สุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน.กรุงเทพฯ : การเวก ,๒๕๒๑.
สุริยา  รัตนกุล,ศจ.ดร. อารยธรรมตะวันออก  อารยธรรมอินเดีย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยศาสนศึกษา 
 มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๔๖.
ศิริวัฒนอาณาทร, ขุน. เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ: โรงพิมพ์ทรงธรรม, พระนคร,๒๔๗๙.                             
Majumdar, R.C. Suvarnadvipa, University of Dhaka,1937.
Wheatley, Paul. The Golden Khersonese. Kuala Lumper. University of Malaya 
             press,1961.

ประจิต  ประเสริฐประศาสน์นักวิชาการอิสระ เรียบเรียง , ตุลาคม  ๒๕๕๙.
Email : pranjicprasad@gmail.com
Facebook : Srivijaya Yava


See also(google)
*Srivijaya Empire,the center was in Songkhla,Thailand
*จินหลินหรือกิมหลินคือเมืองเวียงสระโบราณ
*ศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา